เมนู

พระราชาทรงเนรเทศอำมาตย์ชั่ว


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสบอกวาระจิต ของอำมาตย์ทั้งสองคนแล้ว
ตรัสบอกความที่อนุโมทนา เป็นอันพระองค์อาศัยความอนุเคราะห์ในกาฬ-
อำมาตย์ จึงไม่ทรงทำแล้วแก่ท้าวเธอ. พระราชาตรัสถามว่า " กาฬะ ได้
ยินว่า ท่านคิดอย่างนี้จริงหรือ ? " เมื่อเขาทูลว่า "จริง" จึงตรัสว่า
" เมื่อเราพร้อมกับบุตรภรรยาของเรา มิได้ถือเอาของมีอยู่ของท่าน ให้
ของมีอยู่ของตน, เบียดเบียนอะไรท่าน ? สิ่งใดที่เราให้แก่ท่านแล้ว สิ่ง
นั้นจงเป็นอันให้เลยทีเดียว; แต่ท่านจงออกไปจากแว่นแคว้นของเรา "
ดังนี้แล้ว จึงทรงเนรเทศกาฬอำมาตย์นั้นออกจากแว่นแคว้น แล้วรับสั่ง
ให้เรียกชุณหอำมาตย์มา ตรัสถามว่า " ได้ยินว่า ท่านคิดอย่างนี้ จริง
หรือ ? เมื่อเขาทูลว่า " จริง " จึงตรัสว่า " ดีละ ลุง, เราเลื่อมใส
(ขอบใจ). ท่านจงรับราชสมบัติของเราแล้ว ให้ทานสิ้น 7 วัน โดย
ทำนองที่เราให้แล้วนั่นแล " ทรงมอบราชสมบัติแก่เขาสิ้น 7 วันแล้ว
จึงกราบทูลพระศาสดาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทอด
พระเนตรการทำของคนพาล. เขาได้ให้ความลบหลู่ในทาน ที่หม่อมฉัน
ถวายแล้วอย่างนี้. "

คนตระหนี่ไปเทวโลกไม่ได้


พระศาสดาตรัสว่า " อย่างนั้น มหาบพิตร, ขึ้นชื่อว่าพวกคนพาล
ไม่ยินดีทานของผู้อื่น เป็นผู้มีทุคติเป็นที่ไป ณ เบื้องหน้า. ส่วนพวกนัก
ปราชญ์อนุโมทนาทานแม้ของชนเหล่าอื่น จึงเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไป ณ
เบื้องหน้าโดยแท้ " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

10. น เว กทริยา เทวโลกํ วชนฺติ
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
ธีโร จ ทานํ อนุโมทมาโน
เตเนว โส โหติ สุขี ปรตฺถ.

" พวกคนตระหนี่จะไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย, พวก
คนพาลแล ย่อมไม่สรรเสริญทาน, ส่วนนักปราชญ์
อนุโมทนาทานอยู่ เพราะเหตุนั้นนั่นเอง นักปราชญ์
นั้น จึงเป็นผู้มีสุขในโลกหน้า. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทริยา คือผู้มีความตระหนี่เหนียว
แน่น. ผู้ไม่รู้จักประโยชน์โนโลกนี้และโลกหน้า ชื่อว่าพวกพาล บัณฑิต
ชื่อว่า ธีรชน, สองบทว่า สุขี ปรตฺถ ความว่า ธีรชนนั้น เมื่อเสวย
ทิพยสมบัติ ชื่อว่าเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า เพราะบุญอันสำเร็จแต่การ
อนุโมทนาทานนั้นนั่นเอง.
ในเวลาจบเทศนา ชุณหอำมาตย์ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. เทศนา
ได้มีประโยชน์แม้เเก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว. ชุณหอำมาตย์ ครั้นเป็น
พระโสดาบันแล้ว ได้ถวายทานโดยทำนองที่พระราชาถวายแล้วสิ้น 7 วัน
เหมือนกัน ดังนี้แล.
เรื่องอสทิสทาน จบ.