เมนู

ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดเป็น
กัปปิยภัณฑ์หรือเป็นอกัปปิยภัณฑ์ ในโรงทานนี้ หม่อมฉันจักถวายสิ่งนั้น
ทั้งหมดแด่พระองค์เท่านั้น. "

ทานที่พระนางมัลลิกาจัดชื่ออสทิสทาน


ก็ในทานนั้นแล ทรัพย์มีประมาณ 14 โกฏิ เป็นอันพระราชาทรง
บริจาคโดยวันเดียวเท่านั้น. ก็ของ 4 อย่าง คือเศวตฉัตร 1 บัลลังก์
สำหรับนั่ง 1 เชิงบาตร 1 ตั่งสำหรับเช็ดเท้า 1 เป็นของหาค่ามิได้เทียว
เพื่อพระศาสดา. ใคร ๆ ผู้สามารถเพื่อทำทานเห็นปานนี้แล้ว ถวายทาน
แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ได้มีแล้วอีก; เพราะเหตุนั้นนั่นแล ทานนั้น
จึงปรากฏว่า " อสทิสทาน. " ได้ยินว่า อสทิสทานนั้น มีแด่พระพุทธเจ้า
ทุก ๆพระองค์ ครั้งเดียวเท่านั้น. สตรีเท่านั้นย่อมจัดแจง (ทาน) เพื่อ
พระศาสดาและภิกษุทั้งปวง.

ลักษณะของคนดีคนชั่ว


ก็อำมาตย์ของพระราชา ได้มีสองคน คือกาฬะ 1 ชุณหะ 1. บรรดา
อำมาตย์สองคนนั้น กาฬอำมาตย์คิดว่า " โอ ความเสื่อมรอบแห่งราช-
ตระกูล, ทรัพย์ประมาณ 14 โกฏิ ถึงความสิ้นไปโดยวันเดียวเท่านั้น,
ภิกษุเหล่านี้ บริโภคทานแล้วจักไปนอนหลับ; โอ ราชตระกูลฉิบหาย
แล้ว. " ส่วนชุณหอำมาตย์คิดว่า " โอ ทานของพระราชา, ก็ใคร ๆไม่
ดำรงในความเป็นพระราชา ไม่อาจเพื่อถวายทานเห็นปานนี้ได้. พระราชา
ชื่อว่าไม่ให้ส่วนบุญแก่สัตว์ทั้งปวงย่อมไม่มี;. ก็เราอนุโมทนาทานนี้. "
ในที่สุดภัตกิจแห่งพระศาสดา พระราชาทรงรับบาตรเพื่อต้องการ
อนุโมทนา. พระศาสดาทรงดำริว่า " พระราชาถวายมหาทาน เหมือน

ให้ห้วงน้ำใหญ่เป็นไปอยู่. มหาชนได้อาจเพื่อยังจิตให้เลื่อมใสหรือไม่
หนอ ? " พระองค์ทรงทราบวาระจิตของอำมาตย์เหล่านั้นแล้ว ทรงทราบ
ว่า ถ้าเราจักทำอนุโมทนาให้สมควรแก่ทานของพระราชาไซร้: ศีรษะ
ของกาฬอำมาตย์จักแตก 7 เสี่ยง, ชุณหอำมาตย์จักตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล "
ทรงอาศัยความอนุเคราะห์ในกาฬอำมาตย์ จึงตรัสพระคาถา 4 บาทเท่านั้น
แด่พระราชาผู้ทรงถวายทานเห็นปานนี้ ประทับยืนอยู่แล้ว เสด็จลุกจาก
อาสนะไปสู่พระวิหาร.

ตรัสสรรเสริญพระอังคุลิมาล


ภิกษุทั้งหลาย ถามพระอังคุลิมาลเถระว่า " ผู้มีอายุ ท่านเห็นช้าง
ดุร้ายยืนทรงฉัตร ไม่กลัวหรือหนอแล ? "
พระอังคุลิมาล. ผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมไม่กลัว.
ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ พระอังคุลิมาล ย่อมพยากรณ์อรหัตผล. " พระศาสดาตรัสว่า
" ภิกษุทั้งหลาย อังคุลิมาลย่อมไม่กลัว. เพราะว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เช่นกับ
บุตรของเรา เสมอด้วยโคผู้ตัวประเสริฐ ในระหว่างแห่งโคผู้คือพระ-
ขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กลัว ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาในพราหมณ-
วรรคว่า :-
" เรากล่าวบุคคลผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้ว-
กล้า ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้ชนะโดยวิเศษ ผู้ไม่
หวั่นไหว ผู้ล้างแล้ว ผู้ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็น
พราหมณ์. "