เมนู

เอกแล้ว ตั้งอยู่ในมุสาวาท ผู้มีปรโลกอันสละแล้ว ไม่พึงทำย่อมไม่มี
ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
9. เอกํ ธมฺมํ อตีตสฺส มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน
วิติณฺณปรโลกสฺส นตฺถิ ปาปํ อการิยํ.
" บาปอันชนผู้ก้าวล่วงธรรมอย่างเอกเสีย ผู้มัก
พูดเท็จ ผู้มีปรโลกอันล่วงเลยเสียแล้ว ไม่พึงทำ
ย่อมไม่มี. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกํ ธมฺมํ คือ ซึ่งคำสัตย์. บทว่า มุสา-
วาทิสฺส
ความว่า บรรดาคำพูด 10 คำ คำสัตย์แม้สักคำหนึ่งย่อมไม่มีแก่
ผู้ใด อันผู้เห็นปานนี้ ชื่อว่าผู้มักพูดเท็จ. บาทพระคาถาว่า วิติณฺณปรโล-
กสฺส
ได้แก่ ผู้มีปรโลกอันปล่อยเสียแล้ว. ก็บุคคลเห็นปานนี้ ย่อมไม่
พบสมบัติ 3 อย่างเหล่านั้น คือ มนุษยสมบัติ เทพสมบัติ นิพพานสมบัติ
ในอวสาน. สองบทว่า นตฺถิ ปาปํ ความว่า ความสงสัยว่า บาปชื่อนี้
อันบุคคลนั้น คือผู้เห็นปานนั้น ไม่พึงทำดังนี้ย่อมไม่มี.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องนางจิญจมาณวิกา จบ.

10. เรื่องอสทิสทาน [146]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอสทิสทาน
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น เว กทริยา เทวโลกํ วชนฺติ " เป็นต้น.

พระราชาถวายทานแข่งกับราษฎร


ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระศาสดาเสด็จจาริกไปแล้ว มีภิกษุ
ประมาณ 500 เป็นบริวาร เสด็จเข้าไปในพระเชตวัน. พระราชาเสด็จ
ไปวิหาร ทูลนิมนต์พระศาสดา ในวันรุ่งขึ้น ทรงตระเตรียมอาคันตุกทาน
แล้ว จึงตรัสเรียกชาวพระนครว่า " จงดูทานของเรา. " ชาวพระนคร
มาเห็นทานของพระราชาแล้ว ในวันรุ่งขึ้น ทูลนิมนต์พระศาสดา ตระ-
เตรียมทานแล้ว ส่ง (ข่าวไปกราบทูล) แด่พระราชาว่า " ขอพระองค์
ผู้เป็นสมมติเทพ จงทอดพระเนตรทานของพวกข้าพระองค์. " พระราชา
เสด็จไปทอดพระเนตรทานของชาวพระนครเหล่านั้นแล้ว ทรงดำริว่า
" ทานอันยิ่งกว่าทานของเราอันชนเหล่านี้ทำแล้ว. เราจักทำทานอีก "
จึงรับสั่งให้ตระเตรียมทานแล้ว แม้ในวันรุ่งขึ้น. แม้ชาวพระนครเห็นทาน
นั้นแล้ว ในวันรุ่งขึ้น จึงตระเตรียม (ทาน) แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
ด้วยอาการอย่างนี้ พระราชาไม่ทรงอาจเพื่อให้ชาวพระนครแพ้ได้เลย
ชาวพระนครก็ไม่อาจเพื่อให้พระราชาแพ้ได้. ต่อมาในวาระที่ 6 ชาว
พระนครเพิ่มขึ้นร้อยเท่าพันเท่า ตระเตรียมทาน โดยประการที่ใคร ๆ
ไม่อาจจะพูดได้ว่า " วัตถุชื่อนี้ ไม่มีในทานของชาวพระนครเหล่านี้. "
พระราชาทอดพระเนตรทานนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " ถ้าเราจักไม่อาจเพื่อ