เมนู

เอกแล้ว ตั้งอยู่ในมุสาวาท ผู้มีปรโลกอันสละแล้ว ไม่พึงทำย่อมไม่มี
ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
9. เอกํ ธมฺมํ อตีตสฺส มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน
วิติณฺณปรโลกสฺส นตฺถิ ปาปํ อการิยํ.
" บาปอันชนผู้ก้าวล่วงธรรมอย่างเอกเสีย ผู้มัก
พูดเท็จ ผู้มีปรโลกอันล่วงเลยเสียแล้ว ไม่พึงทำ
ย่อมไม่มี. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกํ ธมฺมํ คือ ซึ่งคำสัตย์. บทว่า มุสา-
วาทิสฺส
ความว่า บรรดาคำพูด 10 คำ คำสัตย์แม้สักคำหนึ่งย่อมไม่มีแก่
ผู้ใด อันผู้เห็นปานนี้ ชื่อว่าผู้มักพูดเท็จ. บาทพระคาถาว่า วิติณฺณปรโล-
กสฺส
ได้แก่ ผู้มีปรโลกอันปล่อยเสียแล้ว. ก็บุคคลเห็นปานนี้ ย่อมไม่
พบสมบัติ 3 อย่างเหล่านั้น คือ มนุษยสมบัติ เทพสมบัติ นิพพานสมบัติ
ในอวสาน. สองบทว่า นตฺถิ ปาปํ ความว่า ความสงสัยว่า บาปชื่อนี้
อันบุคคลนั้น คือผู้เห็นปานนั้น ไม่พึงทำดังนี้ย่อมไม่มี.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องนางจิญจมาณวิกา จบ.