เมนู

ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ท้องแห่งภูเขา (หุบเขา) รับพระมหาสัตว์
นั้นแล้ว ให้ประดิษฐานอยู่ในห้องพังพานของพระยานาค. พระยานาค
นำพระมหาสัตว์นั้นไปสู่ภพนาค ทรงรับรองด้วยราชสมบัติกึ่งหนึ่ง.
พระมหาสัตว์นั้นอยู่ในภพนาคนั้นสิ้นปีหนึ่ง ใคร่จะบวช จึงมาสู่หิมวันต-
ประเทศ บวชแล้ว ให้ฌานและอภิญญาบังเกิดแล้ว.

พระโพธิสัตว์ถวายพระโอวาทแก่พระราชา


ต่อมา พรานไพรผู้หนึ่งเห็นพระมหาสัตว์นั้น จึงกราบทูลแด่
พระราชา. พระราชาเสด็จไปสู่สำนักของพระมหาสัตว์นั้นแล้ว มีปฏิสันถาร
อันพระมหาสัตว์ทำแล้ว ทรงทราบประพฤติเหตุนั้นทั้งหมด ทรงเชื้อเชิญ
พระมหาสัตว์ด้วยราชสมบัติ อันพระมหาสัตว์นั้นถวายโอวาทว่า " กิจด้วย
ราชสมบัติของหม่อมฉันไม่มี, ก็พระองค์จงอย่าให้ราชธรรม 10 ประการ
กำเริบ ทรงละการถึงอคติเสียแล้ว เสวยราชสมบัติโดยธรรมเถิด " ดังนี้
แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ ทรงกันแสง เสด็จไปสู่พระนคร จึงตรัสถาม
อำมาตย์ทั้งหลายในระหว่างหนทางว่า " เราถึงความพลัดพรากจากบุตร
ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอาจาระอย่างนั้นเพราะอาศัยใคร ? "
อำมาตย์. เพราะอาศัยพระอัครมเหสี พระเจ้าข้า.
พระราชารับสั่งให้จับพระอัครมเหสีนั้น ให้มีเท้าขึ้นแล้ว ทิ้งไป
ในเหวที่ทิ้งโจร เสด็จเข้าไปสู่พระนคร เสวยราชสมบัติโดยธรรม
มหาปทุมกุมารในกาลนั้น ได้เป็นพระมหาสัตว์. หญิงร่วมสามีของ
พระมารดา ได้เป็นนางจิญจมาณวิกา.
พระศาสดาครั้นทรงประกาศเนื้อความนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ขึ้นชื่อว่าบาปกรรม อันบุคคลผู้ละคำสัตย์ ซึ่งเป็นธรรมอย่าง

เอกแล้ว ตั้งอยู่ในมุสาวาท ผู้มีปรโลกอันสละแล้ว ไม่พึงทำย่อมไม่มี
ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
9. เอกํ ธมฺมํ อตีตสฺส มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน
วิติณฺณปรโลกสฺส นตฺถิ ปาปํ อการิยํ.
" บาปอันชนผู้ก้าวล่วงธรรมอย่างเอกเสีย ผู้มัก
พูดเท็จ ผู้มีปรโลกอันล่วงเลยเสียแล้ว ไม่พึงทำ
ย่อมไม่มี. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกํ ธมฺมํ คือ ซึ่งคำสัตย์. บทว่า มุสา-
วาทิสฺส
ความว่า บรรดาคำพูด 10 คำ คำสัตย์แม้สักคำหนึ่งย่อมไม่มีแก่
ผู้ใด อันผู้เห็นปานนี้ ชื่อว่าผู้มักพูดเท็จ. บาทพระคาถาว่า วิติณฺณปรโล-
กสฺส
ได้แก่ ผู้มีปรโลกอันปล่อยเสียแล้ว. ก็บุคคลเห็นปานนี้ ย่อมไม่
พบสมบัติ 3 อย่างเหล่านั้น คือ มนุษยสมบัติ เทพสมบัติ นิพพานสมบัติ
ในอวสาน. สองบทว่า นตฺถิ ปาปํ ความว่า ความสงสัยว่า บาปชื่อนี้
อันบุคคลนั้น คือผู้เห็นปานนั้น ไม่พึงทำดังนี้ย่อมไม่มี.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องนางจิญจมาณวิกา จบ.