เมนู

7. อนฺธภูโต อยํ โลโก ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ
สกุนฺโต1 ชาลมุตฺโตว อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ.
" สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนตาบอด, ในโลกนี้
น้อยคนนัก จะเห็นแจ้ง, น้อยคนนักจะไปในสวรรค์
เหมือนนกหลุดแล้วจากข่าย (มีน้อย) ฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อยํ โลโก ความว่า โลกิยมหาชนนี้
ชื่อว่าเป็นเหมือนคนบอด เพราะไม่มีจักษุคือปัญญา. สองบทว่า ตนุ-
เกตฺถ
ความว่า ชนในโลกนี้น้อยคน คือไม่มาก จะเห็นแจ้งด้วยสามารถ
แห่งไตรลักษณ์มีไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า ชาลมุตฺโตว ความว่า บรรดาฝูง-
นกกระจาบที่นายพรานนกผู้ฉลาดตลบด้วยข่ายจับเอาอยู่ นกกระจาบบางตัว
เท่านั้น ย่อมหลุดจากข่ายได้. ที่เหลือย่อมเข้าไปสู่ภายในข่ายทั้งนั้น ฉันใด;
บรรดาสัตว์ที่ข่ายคือมารรวบไว้แล้ว สัตว์เป็นอันมาก ย่อมไปสู่อบาย.
น้อยคนคือบางคนเท่านั้น ไปในสวรรค์ คือย่อมถึงสุคติหรือนิพพาน
ฉันนั้น.
ในเวลาจบเทศนา นางกุมาริกานั้น ดำรงอยู่โนโสดาปัตติผล.
เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชน.

ธิดาช่างหูกตายไปเกิดในดุสิตภพ


แม้นางกุมาริกานั้น ได้ถือกระเช้าด้ายหลอดไปสู่สำนักของบิดาแล้ว.
แม้บิดานั้น ก็นั่งหลับแล้ว. เมื่อนางไม่กำหนดแล้ว น้อมกระเช้าด้ายหลอด
เข้าไปอยู่ กระเช้าด้ายหลอดกระทบที่สุดฟืม ทำเสียงตกไป. บิดานั้น
ตื่นขึ้นแล้ว ฉุดที่สุดฟืมไป ด้วยนิมิตที่ตนจับเอาแล้วนั่นเอง. ที่สุดฟืม
1. อรรถกถา เป็น สกุโณ.

ไปประหารนางกุมาริกานั้นที่อก. นางทำกาละ ณ ที่นั้นนั่นเอง บังเกิด
แล้วในที่สุดภพ. ลำดับนั้น บิดาของนางเมื่อแลดูนาง ได้เห็นนางมีสรีระ
ทั้งสิ้นเปื้อนด้วยโลหิตล้มลงตายแล้ว. ลำดับนั้น ความโศกใหญ่บังเกิดขึ้น
แก่บิดานั้น. เขาร้องไห้อยู่ด้วยคิดว่า " ผู้อื่นจักไม่สามารถเพื่อยังความ
โศกของเราให้ดับได้ " จึงไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเนื้อความ
นั้นแล้ว กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงยังความโศกของข้า
พระองค์ให้ดับ. " พระศาสดาทรงปลอบเขาแล้ว ตรัสว่า " ท่านอย่า
โศกแล้ว, เพราะว่าน้ำตาของท่านอันไหลออกแล้ว ในกาลเป็นที่ตายแห่ง
ธิดาของท่านด้วยอาการอย่างนั้นนั่นแล ในสงสารมีที่สุด ที่ใคร ๆ ไม่รู้แล้ว
เป็นของยิ่งกว่าน้ำแห่งมหาสมุทรทั้ง 4 " ดังนี้แล้ว จึงตรัสอนมตัคคสูตร.
เขามีความโศกเบาบาง ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา ได้อุปสมบทแล้ว
ต่อกาลไม่นานบรรลุพระอรหัตแล้ว ดังนี้เเล.
เรื่องธิดาของนายช่างหูก จบ.

8. เรื่องภิกษุ 30 รูป [144]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ 30 รูป
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " หํสา อาทิจฺจปเถ ยนฺติ " เป็นต้น.

ผู้เจริญอิทธิบาทย่อมเหาะไปได้


ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง ภิกษุผู้มีปกติอยู่ในทิศประมาณ 30 รูป
เข้าไปเฝ้าพระศาสดา. พระอานนทเถระมาในเวลาที่ทำวัตรแด่พระศาสดา
เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้วคิดว่า " เมื่อพระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับด้วย
ภิกษุเหล่านี้แล้ว, เราจักทำวัตร " ดังนี้แล้ว จึงได้ยืนอยู่ที่ซุ้มประตู.
แม้พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับด้วยภิกษุเหล่านั้นแล้ว ก็ตรัสกถาอัน
ปรารภธรรมซึ่งเป็นเครื่องให้ระลึกถึงกัน แก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น
แม้ทั้งหมดฟังธรรมกถานั้นแล้ว บรรลุพระอรหัต ได้เหาะไปทางอากาศ.
พระอานนทเถระ เมื่อภิกษุเหล่านั้นชักช้าอยู่ จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ทูลถามว่า " พระเจ้าข้า ภิกษุมีประมาณ30รูปมาแล้ว ณ ที่นี้. ภิกษุเหล่านั้น
ไปไหน ? "
พระศาสดา. ไปแล้ว อานนท์.
พระอานนท์. ไปโดยทางไหน ? พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ทางอากาศ อานนท์.
พระอานนท์. ก็ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระขีณาสพหรือ ? พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. อย่างนั้น อานนท์. ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมในสำนักเรา
บรรลุพระอรหัตแล้ว.