เมนู

ลำดับนั้น พระศาสดา ประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ 2 ว่า
" ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว " แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไป
ว่า " เมื่อเช่นนั้น. เธอ อันเราถามว่า ' ไม่ทราบหรือ ? ;' เพราะเหตุไร
จึงกล่าวว่า 'ทราบ? "
กุมาริกา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันย่อมทราบภาวะคือความตายของ
หม่อมฉันเท่านั้น, เหตุนั้น จึงกราบทูลอย่างนั้น.
ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ 3 ว่า
" ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว " แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไป
ว่า " เมื่อเป็นเช่นนั้น, เธอ อันเราถามว่า ' เธอย่อมทราบหรือ ?' เพราะ
เหตุไร จึงพูดว่า 'ไม่ทราบ ? '
กุมาริกา. หม่อมฉันย่อมทราบแต่ภาวะคือความตายของหม่อมฉัน
เท่านั้น พระเจ้าข้า แต่ย่อมไม่ทราบว่า จักตายในเวลากลางคืน กลางวัน
หรือเวลาเช้าเป็นต้น ในกาลชื่อโน้น เพราะเหตุนั้น จึงพูดอย่างนั้น. "

คนมีปัญญาชื่อว่ามีจักษุ


ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการครั้งที่ 4 แก่นางว่า " ปัญหา
อันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว " แล้วตรัสเตือนบริษัทว่า
พวกท่านย่อมไม่ทราบถ้อยคำชื่อมีประมาณเท่านี้ ที่นางกุมาริกานี้กล่าว
แล้ว, ย่อมโพนทะนาอย่างเดียวเท่านั้น; เพราะจักษุ คือปัญญาของชน
เหล่าใดไม่มี. ชนเหล่านั้นเป็น (ดุจ) คนบอดทีเดียว; จักษุคือปัญญา
ของชนเหล่าใดมีอยู่. ชนเหล่านั้นนั่นแล เป็นผู้มีจักษุ " ดังนี้แล้ว ตรัส
พระคาถานี้ว่า :-

7. อนฺธภูโต อยํ โลโก ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ
สกุนฺโต1 ชาลมุตฺโตว อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ.
" สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนตาบอด, ในโลกนี้
น้อยคนนัก จะเห็นแจ้ง, น้อยคนนักจะไปในสวรรค์
เหมือนนกหลุดแล้วจากข่าย (มีน้อย) ฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อยํ โลโก ความว่า โลกิยมหาชนนี้
ชื่อว่าเป็นเหมือนคนบอด เพราะไม่มีจักษุคือปัญญา. สองบทว่า ตนุ-
เกตฺถ
ความว่า ชนในโลกนี้น้อยคน คือไม่มาก จะเห็นแจ้งด้วยสามารถ
แห่งไตรลักษณ์มีไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า ชาลมุตฺโตว ความว่า บรรดาฝูง-
นกกระจาบที่นายพรานนกผู้ฉลาดตลบด้วยข่ายจับเอาอยู่ นกกระจาบบางตัว
เท่านั้น ย่อมหลุดจากข่ายได้. ที่เหลือย่อมเข้าไปสู่ภายในข่ายทั้งนั้น ฉันใด;
บรรดาสัตว์ที่ข่ายคือมารรวบไว้แล้ว สัตว์เป็นอันมาก ย่อมไปสู่อบาย.
น้อยคนคือบางคนเท่านั้น ไปในสวรรค์ คือย่อมถึงสุคติหรือนิพพาน
ฉันนั้น.
ในเวลาจบเทศนา นางกุมาริกานั้น ดำรงอยู่โนโสดาปัตติผล.
เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชน.

ธิดาช่างหูกตายไปเกิดในดุสิตภพ


แม้นางกุมาริกานั้น ได้ถือกระเช้าด้ายหลอดไปสู่สำนักของบิดาแล้ว.
แม้บิดานั้น ก็นั่งหลับแล้ว. เมื่อนางไม่กำหนดแล้ว น้อมกระเช้าด้ายหลอด
เข้าไปอยู่ กระเช้าด้ายหลอดกระทบที่สุดฟืม ทำเสียงตกไป. บิดานั้น
ตื่นขึ้นแล้ว ฉุดที่สุดฟืมไป ด้วยนิมิตที่ตนจับเอาแล้วนั่นเอง. ที่สุดฟืม
1. อรรถกถา เป็น สกุโณ.