เมนู

เหมือนอย่างว่า ภาชนะที่เขาเปิดปากตั้งไว้กลางแจ้ง เมื่อฝนตกอยู่ ไม่
เต็มได้ด้วยหยาดน้ำหยาดเดียวโดยแท้, ถึงกระนั้น เมื่อฝนตกอยู่บ่อย ๆ
ภาชนะนั้นย่อมเต็มได้เเน่ ๆ ฉันใด. บุคคลผู้ทำบาปกรรมอยู่ ย่อมทำกอง
บาปให้ใหญ่โตขึ้นโดยลำดับได้อย่างแน่ ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว.
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
5. มาวมญฺเญถ ปาปสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ.

" บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า ่บาปมีประมาณ
น้อยจักไม่มาถึง ' แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่
ตกลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด, ชนพาลเมื่อสั่งสม
บาปแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ ฉันนั้น. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาวมญฺเญถ ความว่า บุคคลไม่ควร
ดูหมิ่น.
บทว่า ปาปสฺส แปลว่า ซึ่งบาป.
บาทพระคาถาว่า น มตฺตํ อาคมิสฺสติ ความว่า บุคคลไม่ควรดูหมิ่น
บาปอย่างนั้นว่า " เราทำบาปมีประมาณน้อย, เมื่อไร บาปนั่นจักเผล็ด
ผล ? "
บทว่า อุทกุมฺโภปิ ความว่า ภาชนะดินชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เขา
เปิดปากทิ้งไว้ในเมื่อฝนตกอยู่ ย่อมเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงแม้ทีละหยาดๆ

โดยลำดับได้ฉันใด. บุคคลเขลา เมื่อสั่งสมคือเมื่อพอกพูนบาปแม้ทีละ
น้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ฉันนั้นเหมือนกัน.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้นแล้ว. แม้พระศาสดา ก็ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า " ภิกษุ
ลาดที่นอน (ของสงฆ์) ไว้ในที่แจ้งแล้ว ไม่เก็บไว้ตามเดิมต้องอาบัติชื่อนี้ "
ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุไม่ถนอมบริขาร จบ.

6. เรื่องเศรษฐีชื่อพิฬาลปทกะ [100]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเศรษฐีชื่อ
พิฬาลปทกะ (เศรษฐีตีนแมว) ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มาวมญฺเญถ
ปุญฺญสฺส
เป็นต้น.

ให้ทานองและชวนคนอื่น ได้สมบัติ 2 อย่าง


ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง ชาวเมืองสาวัตถีพากันถวายทานแด่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน โดยเนื่องเป็นพวกเดียวกัน. อยู่มา
วันหนึ่ง พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนา ตรัสอย่างนี้ว่า " อุบาสก
อุบาสิกาทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานด้วยตน, (แต่) ไม่ชัก-
ชวนผู้อื่น. เขาย่อมได้โภคสมบัติ, (แต่) ไม่ได้บริวารสมบัติ ในที่แห่ง
ตนเกิดแล้ว ๆ; บางคนไม่ให้ทานด้วยตน. ชักชวนแต่คนอื่น. เขาย่อม
ได้บริวารสมบัติ (แต่) ไม่ได้โภคสมบัติในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ; บางคน
ไม่ให้ทานด้วยตนด้วย ไม่ชักชวนคนอื่นด้วย. เขาย่อมไม่ได้โภคสมบัติ
ไม่ได้บริวารสมบัติ ในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ; เป็นคนเที่ยวกินเดน บาง
คน ให้ทานด้วยคนด้วย ชักชวนคนอื่นด้วย,. เขาย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ
และบริวารสมบัติ ในที่แห่งคนเกิดแล้ว ๆ."

บัณฑิตเรี่ยไรของทำบุญ


ครั้งนั้น บัณฑิตบุรุษผู้หนึ่ง ฟังธรรมเทศนานั้นแล้ว คิดว่า " โอ !
เหตุนี้น่าอัศจรรย์, บัดนี้ เราจักทำกรรมที่เป็นไปเพื่อสมบัติทั้งสอง," จึง
กราบทูลพระศาสดาในเวลาเสด็จลุกไปว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้
ขอพระองค์จงทรงรับภิกษาขอพวกข้าพระองค์."