เมนู

เท่านี้ในกาลก่อน. แต่ภายหลังเธอได้กัลยาณมิตรเป็นปัจจัย จึงได้เป็น
ผู้ไม่ประมาท; เหตุนั้น บาปกรรมนั้นอันบุตรของเราละได้แล้วด้วยกุศล"
ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
6. ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปิถียติ
โส อิมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา
" บุคคลใด ละบาปกรรมที่ตนทำไว้เเล้วได้ด้วย
กุศล, บุคคลนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือน
ดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสเลน พระศาสดาตรัสหมายเอาพระ-
อรหัตมรรค. คำที่เหลือ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น.
เรื่องพระอังคุลิมาลเถระ จบ.

7. เรื่องธิดานายช่างหูก [143]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเจดีย์ชื่อว่าอัคคาฬวะ ทรงปรารภ
ธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อนฺธภูโต อยํ
โลโก "
เป็นต้น.

คนเจริญมรณสติไม่กลัวตาย


ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พวกชาวเมืองอาฬวี เมื่อพระศาสดา
เสด็จถึงเมืองอาฬวีแล้ว ได้ทูลนิมนต์ถวายทานแล้ว. พระศาสดาเมื่อจะ
ทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตกิจ จึงตรัสว่า " ท่านทั้งหลายจงเจริญ
มรณสติอย่างนี้ว่า ' ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน, ความตายของเราแน่นอน, เรา
พึงตายแน่แท้. ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด. ชีวิตของเราไม่เที่ยง.
ความตายเที่ยง; ก็มรณะอันชนทั้งหลายใดไม่เจริญแล้ว, ในกาลที่สุด
ชนทั้งหลายนั้น ย่อมถึงความสะดุ้ง ร้องอย่างขลาดกลัวอยู่ทำกาละ เหมือน
บุรุษเห็นอสรพิษแล้วกลัวฉะนั้น; ส่วนมรณะอันชนทั้งหลายใดเจริญแล้ว
ชนทั้งหลายนั้น ย่อมไม่สะดุ้งในกาลที่สุด ดุจบุรุษเห็นอสรพิษแต่ไกล
เทียว แล้วก็เอาท่อนไม้เขี่ยทิ้งไปยืนอยู่ฉะนั้น; เพราะฉะนั้นมรณสติอัน
ท่านทั้งหลายพึงเจริญ. "

พระศาสดาเสด็จประทานโอวาทธิดาช่างหูก


พวกชนที่เหลือฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ได้เป็นผู้ขวนขวายใน
กิจของตนอย่างเดียว. ส่วนธิดาของนายช่างหูกอายุ 16 ปีคนหนึ่ง คิดว่า
" โอ ธรรมดาถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอัศจรรย์, เราเจริญมรณสติ