เมนู

5. เรื่องพระสัมมัชชนเถระ [141]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสัมมัช-
ชนเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา "
เป็นต้น.

ผู้ไม่ประมาทย่อมยังโลกให้สว่าง


ได้ยินว่า พระเถระนั้นไม่ทำเวลาให้เป็นประมาณว่า " เช้าหรือ
เย็น " ย่อมเที่ยวกวาดอยู่เนือง ๆ. วันหนึ่ง พระเถระนั้น ถือไม้กวาด
ไปสู่สำนักของพระเรวตเถระ ผู้นั่งในที่พักกลางวันแล้ว กล่าวว่า " พระ-
เถระนี้เป็นผู้เกียจคร้านมาก. บริโภคของที่ชนถวายด้วยศรัทธา แล้วมา
นั่งอยู่ ; การที่พระเถระนั้นถือเอาไม้กวาดแล้วกวาดที่แห่งหนึ่ง จะไม่ควร
หรือ ? " พระเถระคิดว่า " เราจักให้โอวาทแก่เธอ " ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า
" มานี่แน่ะ คุณ."
พระสัมมัชชนเถระ. อะไร ? ขอรับ.
พระเรวตเถระ. ท่านจงไป. อาบน้ำแล้วจงมา.
พระสัมมัชชนเถระนั้น ได้ทำอย่างนั้นแล้ว.
ลำดับนั้น พระเถระให้เธอนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่งแล้ว เมื่อจะกล่าว
สอน จึงกล่าวว่า " คุณ ธรรมดาภิกษุเที่ยวกวาดอยู่ตลอดทุกเวลา ไม่ควร,
ก็การที่ภิกษุกวาดแต่เช้าตรู่แล้ว เที่ยวบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตแล้ว
มานั่งในที่พักกลางคืนหรือในที่พักกลางวัน สาธยายอาการ 32 เริ่มตั้ง
ความสิ้นความเสื่อมในอัตภาพแล้ว ลุกขึ้นกวาดในเวลาเย็น จึงควร. อัน

ภิกษุไม่กวาดตลอดกาลเป็นนิตย์ แล้วพึงทำโอกาส ชื่อแม้แก่ตน." พระ-
สัมมัชชนเถระนั้นตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระแล้ว ไม่นานเท่าไรก็บรรลุ
พระอรหัต. ที่นั้น ๆได้รกรุงรังแล้ว.
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะพระสัมมัชชนเถระนั้นว่า " สัมมัช-
ชนเถระผู้มีอายุ ที่นั้น ๆ รกรุงรัง. เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่กวาด ? "
พระสัมมัชชนเถระ. ท่านผู้เจริญ กระผมทำแล้วอย่างนั้น ในเวลา
ประมาท, บัดนี้ กระผมเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลแด่พระศาสดาว่า " พระเถระนี้ พยากรณ์
อรหัตผล. " พระศาสดาตรัสว่า " อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเรา
เที่ยวกวาดอยู่ในเวลาประมาทในก่อน. แต่บัดนี้ บุตรของเรายับยั้งอยู่
ด้วยความสุขซึ่งเกิดแต่มรรคผล จึงไม่กวาด " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถา
นี้ว่า :-
5. โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ
โส อิมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.
" ผู้ใดประมาทในก่อน ภายหลังไม่ประมาท,
ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างได้ เหมือนดวงจันทร์พ้น
แล้วจากหมอกฉะนั้น."

แก้อรรถ


บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า :-
บุคคลใดประมาทแล้วในก่อน ด้วยการทำวัตรและวัตรตอบ หรือ
ด้วยการสาธยายเป็นต้น ภายหลังยับยั้งอยู่ด้วยสุขซึ่งเกิดแต่มรรคผล ชื่อว่า