เมนู

ทรงทราบความที่ความโศกเป็นภาพเบาบาง เพราะเทศนานั้นแล้วจึง
ตรัสว่า " กุมาร เธออย่าโศกเลย, ข้อนั้นเป็นฐานะเป็นที่จมลงของชน
พาลทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
4. เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถูปมํ
ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ
" ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้1 อันตระการ ดุจ
ราชรถ, ที่พวกคนเขลาหมกอยู่, (แต่) พวกผู้รู้หา
ข้องอยู่ไม่."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เอถ ปสฺสถ พระศาสดาตรัสหมาย
เอาพระราชกุมารนั่นเอง, สองบทว่า อิมํ โลกํ ได้แก่ อัตภาพ กล่าวคือ
ขันธโลกเป็นต้นนี้. บทว่า จิตฺตํ ความว่า อันวิจิตรด้วยเครื่องประดับ
มีเครื่องประดับคือผ้าเป็นต้น ดุจราชรถอันวิจิตรด้วยเครื่องประดับมีเเก้ว
7 ประการเป็นอาทิ. สองบทว่า ยตฺถ พาลา ความว่า พวกคนเขลา
เท่านั้นหมกอยู่ในอัตภาพใด. บทว่า วิชานตํ ความว่า แต่สำหรับพวก
ผู้รู้คือบัณฑิตทั้งหลาย หามีความข้องในกิเลสเครื่องข้อง คือราคะเป็นต้น
แม้อย่างหนึ่งในอัตภาพนั้นไม่.
ในเวลาจบเทศนา พระราชกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, พระ-
ธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้เเก่ผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.
เรื่องอภัยราชกุมาร จบ.
1. พระศาสดาตรัสสองบทว่า เอถ ปสฺสถ ในพระคาถานั้น ทรงหมายเอาจำเพาะพระราชกุมาร.