เมนู

2. อุตฺติฏฺเฐ นปฺปมชฺเชยฺย ธมฺมํ สุจริตํ จเร
ธมฺมจารี สุขํ เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.
ธมฺมํ จเร สุจริตํ น นํ ทุจฺจริตํ จเร
ธมฺมจารี สุขํ เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.
" บรรพชิตไม่พึงประมาทในก้อนข้าว อันตนพึง
ลุกขึ้นยืนรับ, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้มี
ปกติประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลก
หน้า, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต, ไม่พึง
ประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต, ผู้มีปกติประพฤติธรรม
ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺติฏฺเฐ ความว่า ในก้อนข้าว อันตน
พึงลุกขึ้นยืนรับที่ประตูเรือนของชนเหล่าอื่น. บทว่า นปฺปมชฺเชยฺย
ความว่า ก็ภิกษุเมื่อให้ธรรมเนียมของผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นปกติเสื่อมแล้ว
แสวงหาโภชนะอันประณีต ชื่อว่าย่อมประมาท ในก้อนข้าวอันตนพึงลุก
ขึ้นยืนรับ. แต่ว่าเมื่อเที่ยวไปตามลำดับตรอกเพื่อบิณฑบาต ชื่อว่าย่อมไม่
ประมาท. ทำอยู่อย่างนั้น ชื่อว่าไม่พึงประมาท ในก้อนข้าวที่ตนพึงลุกขึ้น
ยืนรับ.
บทว่า ธมฺมํ ความว่า เมื่อละการแสวงหาอันไม่ควรแล้วเที่ยวไป
ตามลำดับตรอก ชื่อว่าพึงประพฤติธรรม คือการเที่ยวไปเพื่อภิกษานั้น
นั่นแลให้เป็นสุจริต. คำว่า สุขํ เสติ นั่น สักว่าเป็นเทศนา. อธิบายว่า

เมื่อประพฤติธรรมคือการเที่ยวไปเพื่อภิกษา ชื่อว่าประพฤติธรรมเป็น
ปกติ ย่อมอยู่เป็นสุขโดยอิริยาบถแม้ทั้ง 4 ในโลกนี้และโลกหน้า.
สองบทว่า น ตํ ทุจฺจริตํ ความว่า เมื่อเที่ยวไปในอโคจร ต่างด้วย
อโคจรมีหญิงแพศยาเป็นต้น ชื่อว่าย่อมประพฤติธรรม คือการเที่ยวไปเพื่อ
ภิกษาให้เป็นทุจริต. ไม่ประพฤติอย่างนั้น พึงประพฤติธรรมนั้นให้เป็น
สุจริต, ไม่พึงประพฤติธรรมนั้นให้เป็นทุจริต. คำที่เหลือ มีเนื้อความ
ดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
ในเวลาจบเทศนา พระราชาทรงดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผลแล้ว.
เทศนาได้มีประโยชน์แม้เเก่ชนทั้งหลายผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.
เรื่องพระเจ้าสุทโธทนะ จบ.

3. เรื่องภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา [139]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้เจริญ
วิปัสสนามีประมาณ500รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยถา ปุพฺพุฬกํ
ปสฺเส "
เป็นต้น.

ภิกษุถือเอาพยับแดดเป็นอารมณ์


ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดา
แล้ว เข้าไปสู่ป่า แม้พยายามอยู่ ก็ไม่ได้บรรลุคุณวิเศษ จึงคิดว่า '' พวก
เราจักเรียนกัมมัฏฐานให้วิเศษ " กำลังมาสู่สำนักของพระศาสดา เห็น
พยับแดดในระหว่างทาง เจริญกัมมัฏฐานมีพยับแดดเป็นอารมณ์นั่นแหละ
มาแล้ว. ฝนตกในขณะแห่งภิกษุเหล่านั้นเข้าไปสู่วิหารนั่นเอง ภิกษุ
เหล่านั้นยืนที่หน้ามุขนั้น ๆ เห็นฟองน้ำทั้งหลายซึ่งตั้งขึ้นแล้ว แตกไป
อยู่ด้วยความเร็วแห่งสายน้ำ ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า " อัตภาพแม้นี้ เป็น
เช่นกับฟองน้ำ เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นแล้วแตกไปเหมือนกัน. " พระศาสดา
ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงแลดูภิกษุเหล่านั้นแล้ว ทรงแผ่
พระโอภาส เหมือนตรัสกับภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
3. ยถา ปุพฺพุฬกํ ปสฺเส ยถา ปสฺเส มรีจิกํ
เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ.
" พระยามัจจุ ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็น
อยู่ซึ่งโลก เหมือนบุคคลพึงเห็นฟองน้ำ (และ)
เหมือนบุคคลพึงเห็นพยับแดด. "