เมนู

วันรุ่งขึ้น พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปสู่พระนครเพื่อบิณฑบาต ทรง
ใคร่ครวญว่า " พระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลาย เสด็จถึงพระนครแห่งพระ-
บิดาแล้ว เสด็จตรงไปสู่ตระกูลแห่งพระญาติทีเดียวหรือหนอแล ? หรือว่า
เสด็จเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต โดยลำดับ " ทรงเห็นว่า " เสด็จเที่ยวไปโดย
ลำดับ " ดังนี้แล้ว จึงเสด็จดำเนินไปเพื่อบิณฑบาตตั้งแต่เรือนหลังแรก.
พระมารดาของพระราหุลประทับนั่งบนพื้นปราสาทแลเห็นแล้ว จึงกราบ-
ทูลประพฤติเหตุนั้นแด่พระราชา พระราชาทรงจัดแจงผ้าสาฎกรีบเสด็จ
ออกไป ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ตรัสว่า " ลูก เพราะเหตุไร ? ท่าน
จึงให้ข้าพเจ้าฉิบหาย. ท่านเที่ยวไปเพื่อภิกษา ให้ความละอายเกิดขึ้นแล้ว
แก่ข้าพเจ้าเหลือเกิน. ขึ้นชื่อว่ากรรมไม่ควรอันท่านทำแล้ว. การที่ท่าน
เที่ยวไปด้วยวอทองคำเป็นต้น เที่ยวไปเพื่อภิกษา ในนครนี้นั้นแหละจึง
ควร ; ท่านให้ข้าพเจ้าละอายทำไม ? "

การบิณฑบาตเป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้า


พระศาสดา. มหาบพิตร อาตมภาพให้พระองค์ละอายหามิได้,
แต่อาตมภาพย่อมประพฤติตามวงศ์สกุลของตน.
พระราชา. พ่อ ก็การเที่ยวไปเพื่อภิกษาแล้วเป็นอยู่ เป็นวงศ์
ของข้าพเจ้าหรือ ?
พระศาสดาตรัส ว่า " มหาบพิตร นั่นมิใช่เป็นวงศ์ของพระองค์. แต่
นั่นเป็นวงศ์ของอาตมภาพ ; เพราะพระพุทธเจ้าไม่ใช่พันหนึ่ง เสด็จเที่ยว
ไปเพื่อบิณฑบาตแล้วเป็นอยู่เหมือนกัน" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม
ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านั้นว่า:-

2. อุตฺติฏฺเฐ นปฺปมชฺเชยฺย ธมฺมํ สุจริตํ จเร
ธมฺมจารี สุขํ เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.
ธมฺมํ จเร สุจริตํ น นํ ทุจฺจริตํ จเร
ธมฺมจารี สุขํ เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.
" บรรพชิตไม่พึงประมาทในก้อนข้าว อันตนพึง
ลุกขึ้นยืนรับ, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้มี
ปกติประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลก
หน้า, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต, ไม่พึง
ประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต, ผู้มีปกติประพฤติธรรม
ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺติฏฺเฐ ความว่า ในก้อนข้าว อันตน
พึงลุกขึ้นยืนรับที่ประตูเรือนของชนเหล่าอื่น. บทว่า นปฺปมชฺเชยฺย
ความว่า ก็ภิกษุเมื่อให้ธรรมเนียมของผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นปกติเสื่อมแล้ว
แสวงหาโภชนะอันประณีต ชื่อว่าย่อมประมาท ในก้อนข้าวอันตนพึงลุก
ขึ้นยืนรับ. แต่ว่าเมื่อเที่ยวไปตามลำดับตรอกเพื่อบิณฑบาต ชื่อว่าย่อมไม่
ประมาท. ทำอยู่อย่างนั้น ชื่อว่าไม่พึงประมาท ในก้อนข้าวที่ตนพึงลุกขึ้น
ยืนรับ.
บทว่า ธมฺมํ ความว่า เมื่อละการแสวงหาอันไม่ควรแล้วเที่ยวไป
ตามลำดับตรอก ชื่อว่าพึงประพฤติธรรม คือการเที่ยวไปเพื่อภิกษานั้น
นั่นแลให้เป็นสุจริต. คำว่า สุขํ เสติ นั่น สักว่าเป็นเทศนา. อธิบายว่า