เมนู

เล็บอันตัดแล้ว ผู้มีผ้านุ่งผ้าห่มอันตัดแล้ว ผู้ถือกระเบื้องตัด ณ ท่ามกลาง
เที่ยวไปอยู่เพื่อภิกษา. " ภิกษุหนุ่มพูดว่า " เออ อุบาสิกา ท่านย่อม
ทราบความที่อาตมาเป็นผู้มีผมอันตัดแล้วเป็นต้น." การที่หลานของท่าน
นี้ด่าทำอาตมาว่า ' ผู้มีหัวขาด ' ดังนี้ จักควรหรือ.? " นางวิสาขา
ไม่ได้อาจ เพื่อให้ภิกษุหนุ่มยินยอมเลย (ทั้ง) ไม่ได้อาจเพื่อให้นางทาริกา
ยินยอม. ขณะนั้น พระเถระมาแล้ว ถามว่า " นี้ อะไรกัน ? อุบาสิกา "
ฟังความนั้นแล้ว เมื่อจะกล่าวสอนภิกษุหนุ่ม จึงพูดว่า " ผู้มีอายุ เธอจง
หลีกไป, หญิงนี้ไม่ได้ด่าต่อเธอผู้มีผมเล็บและผ้าอันตัดแล้ว ผู้ถือกระเบื้อง
ตัดในท่ามกลางเที่ยวไปอยู่เพื่อภิกษา, เธอจงเป็นผู้นิ่งเสีย. "
ภิกษุหนุ่ม. อย่างนั้นขอรับ ท่านไม่คุกคามอุปัฏฐายิกาของตน จัก
คุกคามกระผมทำไม ? การที่นางด่ากระผมว่า ' ผู้มีหัวขาด ' จักควรหรือ ?
ขณะนั้น พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า " นี้อะไรกัน ? " นาง-
วิสาขากราบทูลประพฤติเหตุนั้นตั้งแต่ต้น.

พระศาสดาประทานโอวาทแก่ภิกษุหนุ่ม


พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของภิกษุหนุ่มนั้น
แล้ว จึงทรงดำริว่า " เราคล้อยตามภิกษุหนุ่มนี้จะควร " ดังนี้แล้ว จึง
ตรัสกะนางวิสาขาว่า " วิสาขา ก็ทาริกาของท่านด่าทำสาวกทั้งหลายของ
เราให้เป็นผู้มีศีรษะขาด ด้วยเหตุสักว่ามีผมอันตัดแล้วเป็นต้นนั้นแล ควร
หรือ ? " ภิกษุหนุ่ม ลุกขึ้นประคองอัญชลีในทันใดนั่นแล กราบทูล
ว่า " พระเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบปัญหานั่นด้วยดี. อุปัชฌาย์ของ
ข้าพระองค์และมหาอุบาสิกา ย่อมไม่ทราบด้วยดี. " พระศาสดา ทรง
ทราบความที่พระองค์เป็นผู้อนุกูลแก่ภิกษุหนุ่มแล้ว ตรัสว่า " ชื่อว่าความ

เป็นคือการหัวเราะปรารภกามคุณเป็นธรรมอันเลว. อนึ่งการเสพธรรมที่
ชื่อว่าเลว และการอยู่ร่วมกับความประมาทย่อมไม่ควร " จึงตรัสพระคาถา
นี้ว่า :-
1. หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย ปมาเทน น สํวเส
มิจฺฉาทิฏฺฐึ น เสเวยฺย น สิยา โลกวฑฺฒโน.
" บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว, ไม่พึงอยู่ร่วม
ด้วยความประมาท, ไม่พึงเสพความเห็นผิด ไม่พึง
เป็นคนรกโลก. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า หีนํ ธมฺมํ ได้แก่ ธรรม คือ
เบญจกามคุณ. แท้จริง ธรรมคือเบญจกามคุณนั้น อันชนเลว โดยที่สุด
แม้อูฐและโคเป็นต้นพึงเสพ. ธรรมคือเบญจกามคุณ ย่อมให้สัตว์ผู้เสพ-
บังเกิดในฐานะทั้งหลายมีนรกเป็นต้นอันเลว เพราะเหตุนั้น ธรรมคือ
เบญจกามคุณนั้น จึงชื่อว่าเป็นธรรมเลว : บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว
นั้น. บทว่า ปมาเทน ความว่า ไม่พึงอยู่ร่วมแม้ด้วยความประมาท มี
อันปล่อยสติเป็นลักษณะ บทว่า น เสเวยฺย ได้แก่ ไม่พึงถือความเห็น
ผิด. บทว่า โลกวฑฺฒโน ความว่า ก็ผู้ใดทำอย่างนี้. ผู้นั้นย่อมชื่อว่า
เป็นคนรกโลก ; เพราะเหตุนั้น (ไม่) พึงเป็นคนรกโลก เพราะไม่ทำ
อย่างนั้น.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุหนุ่มตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนา
ได้เป็นประโยชน์แม้แก่ชนทั้งหลายผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุหนุ่ม จบ.