เมนู

13. โลกวรรควรรณนา


1. เรื่องภิกษุหนุ่ม [137]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุหนุ่ม
รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " หีนํ ธมฺมํ " เป็นต้น.

ภิกษุทะเลาะกับหลานสาวนางวิสาขา


ได้ยินว่า พระเถระรูปใดรูปหนึ่งพร้อมทั้งภิกษุหนุ่ม ได้ไปสู่เรือน
ของนางวิสาขาแต่เช้าตรู่ ข้าวต้มประจำย่อมเป็นของอันเขาตกแต่งไว้เป็น
นิตย์ เพื่อภิกษุประมาณ 500 รูป ในเรือนของนางวิสาขา. พระเถระ
ฉันข้าวต้มแล้ว ให้ภิกษุหนุ่มนั่งอยู่บนเรือนของนางวิสาขานั้น ส่วนตน
ได้ไปเรือนหลังอื่น. ก็โดยสมัยนั้น ธิดาของบุตรของนางวิสาขาตั้งอยู่ใน
ฐานะของย่า1 ทำการขวนขวายแก่ภิกษุทั้งหลาย. นางกรองน้ำเพื่อภิกษุ
หนุ่มนั้น เห็นเงาหน้าของตนในตุ่ม จึงหัวเราะ. แม้ภิกษุหนุ่มมองดูนาง
ก็หัวเราะ. นางเห็นภิกษุหนุ่มนั้นหัวเราะอยู่ จึงกล่าวว่า " คนหัวขาด
ย่อมหัวเราะ" ลำดับนั้นภิกษุหนุ่มด่านางว่า " เธอก็หัวขาด. ถึงมารดา
บิดาของเธอก็หัวขาด." นางร้องไห้ไปสู่สำนักของย่าในโรงครัวใหญ่.
เมื่อนางวิสาขากล่าวว่า " นี้อะไร ? แม่ " จึงบอกเนื้อความนั้น. นาง-
วิสาขานั้นมาสู่สำนักของภิกษุหนุ่มแล้ว พูดว่า " ท่านเจ้าข้า อย่า
โกรธแล้ว. คำนั้นเป็นคำไม่หนักนักสำหรับพระผู้เป็นเจ้า ผู้มีผมและ
1. หมายความว่า ทำแทนนางวิสาขาผู้เป็นย่า

เล็บอันตัดแล้ว ผู้มีผ้านุ่งผ้าห่มอันตัดแล้ว ผู้ถือกระเบื้องตัด ณ ท่ามกลาง
เที่ยวไปอยู่เพื่อภิกษา. " ภิกษุหนุ่มพูดว่า " เออ อุบาสิกา ท่านย่อม
ทราบความที่อาตมาเป็นผู้มีผมอันตัดแล้วเป็นต้น." การที่หลานของท่าน
นี้ด่าทำอาตมาว่า ' ผู้มีหัวขาด ' ดังนี้ จักควรหรือ.? " นางวิสาขา
ไม่ได้อาจ เพื่อให้ภิกษุหนุ่มยินยอมเลย (ทั้ง) ไม่ได้อาจเพื่อให้นางทาริกา
ยินยอม. ขณะนั้น พระเถระมาแล้ว ถามว่า " นี้ อะไรกัน ? อุบาสิกา "
ฟังความนั้นแล้ว เมื่อจะกล่าวสอนภิกษุหนุ่ม จึงพูดว่า " ผู้มีอายุ เธอจง
หลีกไป, หญิงนี้ไม่ได้ด่าต่อเธอผู้มีผมเล็บและผ้าอันตัดแล้ว ผู้ถือกระเบื้อง
ตัดในท่ามกลางเที่ยวไปอยู่เพื่อภิกษา, เธอจงเป็นผู้นิ่งเสีย. "
ภิกษุหนุ่ม. อย่างนั้นขอรับ ท่านไม่คุกคามอุปัฏฐายิกาของตน จัก
คุกคามกระผมทำไม ? การที่นางด่ากระผมว่า ' ผู้มีหัวขาด ' จักควรหรือ ?
ขณะนั้น พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า " นี้อะไรกัน ? " นาง-
วิสาขากราบทูลประพฤติเหตุนั้นตั้งแต่ต้น.

พระศาสดาประทานโอวาทแก่ภิกษุหนุ่ม


พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของภิกษุหนุ่มนั้น
แล้ว จึงทรงดำริว่า " เราคล้อยตามภิกษุหนุ่มนี้จะควร " ดังนี้แล้ว จึง
ตรัสกะนางวิสาขาว่า " วิสาขา ก็ทาริกาของท่านด่าทำสาวกทั้งหลายของ
เราให้เป็นผู้มีศีรษะขาด ด้วยเหตุสักว่ามีผมอันตัดแล้วเป็นต้นนั้นแล ควร
หรือ ? " ภิกษุหนุ่ม ลุกขึ้นประคองอัญชลีในทันใดนั่นแล กราบทูล
ว่า " พระเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบปัญหานั่นด้วยดี. อุปัชฌาย์ของ
ข้าพระองค์และมหาอุบาสิกา ย่อมไม่ทราบด้วยดี. " พระศาสดา ทรง
ทราบความที่พระองค์เป็นผู้อนุกูลแก่ภิกษุหนุ่มแล้ว ตรัสว่า " ชื่อว่าความ