เมนู

คาถาธรรมบท


โลกวรรค1ที่ 13


ว่าด้วยเรื่องโลก


[23] 1. บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว ไม่พึงอยู่ร่วม
ด้วยความประมาท ไม่พึงเสพความเห็นผิด ไม่พึง
เป็นคนรกโลก.

2. บรรพชิตไม่พึงประมาทในก้อนข้าว อันตน
พึงลุกขึ้นยืนรับ บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต
ผู้มีปกติประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และ
โลกหน้า, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึง
ประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต ผู้มีปกติประพฤติธรรม
ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า.

3. พระยามัจจุ ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณา
เห็นอยู่ซึ่งโลก เหมือนบุคคลพึงเห็นฟองน้ำ (และ)
เหมือนบุคคลพึงเห็นพยับแดด.

4. ท่านทั้งหลายจงดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ
ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ (แต่) พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่.
5. ผู้ใดประมาทในก่อน ภายหลังไม่ประมาท
ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างได้ เหมือนดวงจันทร์พ้น
จากหมอกฉะนั้น
.
6. บุคคลใดละบาปกรรมที่ตนทำไว้แล้วได้ด้วย
1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 10 เรื่อง.

กุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนดวง
จันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น.

7. สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนบอด ในโลกนี้น้อย
คนนักจะเห็นแจ้ง น้อยคนนักจะไปในสวรรค์ เหมือน
นกหลุดเเล้วจากข่าย (มีน้อย) ฉะนั้น.
8. หงส์ทั้งหลาย ย่อมไปในทางแห่งดวงอาทิตย์
ท่านผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์ ธีรชน
ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ย่อมออกไปจากโลกได้.

9. บาปอันชนผู้ก้าวล่วงธรรมอย่างเอกเสีย ผู้
มักพูดเท็จ ผู้มีปรโลกอันล่วงเลยเสียแล้ว ไม่พึงทำ
ย่อมไม่มี.

10. พวกคนตระหนี่ จะไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย
พวกชนพาลแล ย่อมไม่สรรเสริญทาน ส่วนนัก-
ปราชญ์อนุโมทนาทานอยู่ เพราะเหตุนั้นนั่นแล นัก-
ปราชญ์นั้นจึงเป็นผู้มีสุขในโลกหน้า.

11. โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นเอกราช
ในแผ่นดิน กว่าการไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็น
ใหญ่ในโลกทั้งปวง.

จบโลกวรรคที่ 13

13. โลกวรรควรรณนา


1. เรื่องภิกษุหนุ่ม [137]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุหนุ่ม
รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " หีนํ ธมฺมํ " เป็นต้น.

ภิกษุทะเลาะกับหลานสาวนางวิสาขา


ได้ยินว่า พระเถระรูปใดรูปหนึ่งพร้อมทั้งภิกษุหนุ่ม ได้ไปสู่เรือน
ของนางวิสาขาแต่เช้าตรู่ ข้าวต้มประจำย่อมเป็นของอันเขาตกแต่งไว้เป็น
นิตย์ เพื่อภิกษุประมาณ 500 รูป ในเรือนของนางวิสาขา. พระเถระ
ฉันข้าวต้มแล้ว ให้ภิกษุหนุ่มนั่งอยู่บนเรือนของนางวิสาขานั้น ส่วนตน
ได้ไปเรือนหลังอื่น. ก็โดยสมัยนั้น ธิดาของบุตรของนางวิสาขาตั้งอยู่ใน
ฐานะของย่า1 ทำการขวนขวายแก่ภิกษุทั้งหลาย. นางกรองน้ำเพื่อภิกษุ
หนุ่มนั้น เห็นเงาหน้าของตนในตุ่ม จึงหัวเราะ. แม้ภิกษุหนุ่มมองดูนาง
ก็หัวเราะ. นางเห็นภิกษุหนุ่มนั้นหัวเราะอยู่ จึงกล่าวว่า " คนหัวขาด
ย่อมหัวเราะ" ลำดับนั้นภิกษุหนุ่มด่านางว่า " เธอก็หัวขาด. ถึงมารดา
บิดาของเธอก็หัวขาด." นางร้องไห้ไปสู่สำนักของย่าในโรงครัวใหญ่.
เมื่อนางวิสาขากล่าวว่า " นี้อะไร ? แม่ " จึงบอกเนื้อความนั้น. นาง-
วิสาขานั้นมาสู่สำนักของภิกษุหนุ่มแล้ว พูดว่า " ท่านเจ้าข้า อย่า
โกรธแล้ว. คำนั้นเป็นคำไม่หนักนักสำหรับพระผู้เป็นเจ้า ผู้มีผมและ
1. หมายความว่า ทำแทนนางวิสาขาผู้เป็นย่า