เมนู

ผู้ปฏิบัติธรรมชื่อว่าบูชาพระศาสดา


พระศาสดา ประทานสาธุการแก่พระเถระนั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้ใดมีความสิเนหาในเรา. ผู้นั้นควรเป็นดุจอัตตทัตถะ ด้วยว่า
ชนทั้งหลายบูชาอยู่ด้วยวัตถุต่าง ๆ มีของหอมเป็นต้น ย่อมไม่ชื่อว่าบูชา
เรา, ส่วนผู้บูชาอยู่ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมชื่อว่าบูชา
เรา; เพราะฉะนั้น แม้ภิกษุรูปอื่นก็พึงเป็นเช่นอัตตทัตถะ " ดังนี้แล้ว
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
10. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
อตฺตทตฺถมภิญฺญาย สทตฺถปสุโต สิยา.
" บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตน ให้เสื่อมเสีย
เพราะประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์
ของตนแล้ว พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน."

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า.
" บุคคลผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงยังประโยชน์ของตน แม้ประมาณ
กากณิก1หนึ่งให้เสื่อมเสีย เพราะประโยชน์ของคนอื่น แม้ประมาณค่าตั้ง
พันทีเดียว. ด้วยว่าประโยชน์ของตนแห่งบุคคลนั้นแล แม้ประมาณกากณิก
หนึ่ง ก็ยังของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภคให้สำเร็จได้, ประโยชน์ของ
คนอื่น หาให้สำเร็จไม่. ส่วนสองบาทพระคาถาเหล่านี้ พระผู้มีพระภาค
เจ้าไม่ตรัสอย่างนั้น ตรัสด้วยหัวข้อแห่งกัมมัฏฐาน. เพราะฉะนั้น ภิกษุ
1. เป็นชื่อของมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด แทบไม่มีค่าเสียเลย แต่ในที่นี้ เป็นคุณบทของคำว่า
ประโยชน์ จึงหมายความว่า ประโยชน์ของตนแม้น้อย จนไม่รู้จะประมาณได้ว่าเท่าไหน ก็ไม่
ควรให้เสียไป.

ตั้งใจว่า ' เราจะไม่ยังประโยชน์ของตนให้เสื่อมเสีย ' ดังนี้แล้ว ก็ไม่พึง
ยังกิจมีการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์เป็นต้น อันบังเกิดขึ้นแก่สงฆ์ หรือวัตถุมี
อุปัชฌายวัตรเป็นต้นให้เสื่อมเสีย. ด้วยว่าภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกวัตร
ให้สมบูรณ์อยู่แล ย่อมทำให้แจ้งซึ่งผลทั้งหลายมีอริยผลเป็นต้น. เพราะ-
ฉันนั้น การบำเพ็ญวัตรให้บริบูรณ์แม้นี้ จึงชื่อว่าเป็นประโยชน์ของตนแท้.
อนึ่ง ภิกษุใด มีวิปัสสนาอันปรารภยิ่งแล้ว ปรารถนาการแทง
ตลอดว่า 'เราจักแทงตลอดในวันนี้ ๆ แหละ ' ดังนี้แล้ว ประพฤติอยู่.
ภิกษุนั้น แม้ยังวัตรมีอุปัชฌายวัตรเป็นต้นให้เสื่อมแล้ว ก็พึงทำกิจของตน
ให้ได้. ก็ภิกษุรู้จักประโยชน์ของตนเห็นปานนั้น คือกำหนดได้ว่า ่นี้
เป็นประโยชน์ตนของเรา ' พึงเป็นผู้เร่งขวนขวาย ประกอบในประโยชน์
ของตนนั้น. "
ในกาลจบเทศนา พระเถระนั้น ได้ตั้งอยู่ในพระอรหัตผล เทศนา
ได้เป็นประโยชน์แม้เเก่ภิกษุผู้ประชุมกันทั้งหลาย ดังนี้แล.
เรื่องพระอัตตทัตถเถระ จบ.
อัตตวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 12 จบ.

คาถาธรรมบท


โลกวรรค1ที่ 13


ว่าด้วยเรื่องโลก


[23] 1. บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว ไม่พึงอยู่ร่วม
ด้วยความประมาท ไม่พึงเสพความเห็นผิด ไม่พึง
เป็นคนรกโลก.

2. บรรพชิตไม่พึงประมาทในก้อนข้าว อันตน
พึงลุกขึ้นยืนรับ บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต
ผู้มีปกติประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และ
โลกหน้า, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึง
ประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต ผู้มีปกติประพฤติธรรม
ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า.

3. พระยามัจจุ ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณา
เห็นอยู่ซึ่งโลก เหมือนบุคคลพึงเห็นฟองน้ำ (และ)
เหมือนบุคคลพึงเห็นพยับแดด.

4. ท่านทั้งหลายจงดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ
ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ (แต่) พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่.
5. ผู้ใดประมาทในก่อน ภายหลังไม่ประมาท
ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างได้ เหมือนดวงจันทร์พ้น
จากหมอกฉะนั้น
.
6. บุคคลใดละบาปกรรมที่ตนทำไว้แล้วได้ด้วย
1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 10 เรื่อง.