เมนู

ผู้ปฏิบัติธรรมชื่อว่าบูชาพระศาสดา


พระศาสดา ประทานสาธุการแก่พระเถระนั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้ใดมีความสิเนหาในเรา. ผู้นั้นควรเป็นดุจอัตตทัตถะ ด้วยว่า
ชนทั้งหลายบูชาอยู่ด้วยวัตถุต่าง ๆ มีของหอมเป็นต้น ย่อมไม่ชื่อว่าบูชา
เรา, ส่วนผู้บูชาอยู่ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมชื่อว่าบูชา
เรา; เพราะฉะนั้น แม้ภิกษุรูปอื่นก็พึงเป็นเช่นอัตตทัตถะ " ดังนี้แล้ว
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
10. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
อตฺตทตฺถมภิญฺญาย สทตฺถปสุโต สิยา.
" บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตน ให้เสื่อมเสีย
เพราะประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์
ของตนแล้ว พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน."

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า.
" บุคคลผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงยังประโยชน์ของตน แม้ประมาณ
กากณิก1หนึ่งให้เสื่อมเสีย เพราะประโยชน์ของคนอื่น แม้ประมาณค่าตั้ง
พันทีเดียว. ด้วยว่าประโยชน์ของตนแห่งบุคคลนั้นแล แม้ประมาณกากณิก
หนึ่ง ก็ยังของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภคให้สำเร็จได้, ประโยชน์ของ
คนอื่น หาให้สำเร็จไม่. ส่วนสองบาทพระคาถาเหล่านี้ พระผู้มีพระภาค
เจ้าไม่ตรัสอย่างนั้น ตรัสด้วยหัวข้อแห่งกัมมัฏฐาน. เพราะฉะนั้น ภิกษุ
1. เป็นชื่อของมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด แทบไม่มีค่าเสียเลย แต่ในที่นี้ เป็นคุณบทของคำว่า
ประโยชน์ จึงหมายความว่า ประโยชน์ของตนแม้น้อย จนไม่รู้จะประมาณได้ว่าเท่าไหน ก็ไม่
ควรให้เสียไป.