เมนู

ผล แต่เมื่อใด กรรมดีเผล็ดผล เมื่อนั้น เขาย่อม
เห็นกรรมดีว่าดี."

แก้อรรถ


บุคคลผู้ประกอบบาปกรรมมีทุจริตทางกายเป็นต้น ชื่อว่าคนผู้บาป
ในพระคาถานั้น.
ก็บุคคลแม้นั้น เมื่อยังเสวยสุขอันเกิดขึ้น ด้วยอานุภาพแห่งสุจริต
กรรมในปางก่อนอยู่ ย่อมเห็นแม้บาปกรรมว่าดี.
บาทพระคาถาว่า ยาว ปาปํ น ปจฺจติ เป็นต้น ความว่า บาปกรรม
ของเขานั้น ยังไม่ให้ผลในปัจจุบันภพหรือสัมปรายภพเพียงใด. (ผู้ทำ
บาป ย่อมเห็นบาปว่าดี เพียงนั้น). แต่เมื่อใดบาปกรรมของเขานั้นให้ผล
ในปัจจุบันภพหรือในสัมปรายภพ. เมื่อนั้น ผู้ทำบาปนั้น เมื่อเสวยกรรม-
กรณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันภพ และทุกข์ในอบายในสัมปรายภพอยู่ ย่อมเห็น
บาปว่าชั่วถ่ายเดียว.
ในพระคาถาที่ 2 (พึงทราบเนื้อความดังต่อไปนี้). บุคคลผู้ประ-
กอบกรรมดีมีทุจริตทางกายเป็นต้น ชื่อว่าคนทำกรรมดี. คนทำกรรมดี
แม้นั้น เมื่อเสวยทุกข์อันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งทุจริตในปางก่อน ย่อม
เห็นกรรมดีว่าชั่ว.
บาทพระคาถาว่า ยาว ภทฺรํ น ปจฺจิต เป็นต้น ความว่ากรรมดี
ของเขานั้น ยังไม่ให้ผล ในปัจจุบันภพหรือในสัมปรายภพเพียงใด. (คน
ทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่วอยู่ เพียงนั้น). แต่เมื่อใด กรรมดีนั้น
ให้ผล, เมื่อนั้นคนทำกรรมดีนั้น เมื่อเสวยสุขที่อิงอามิส มีลาภและสักการะ

เป็นต้นในปัจจุบันภพ และสุขที่อิงสมบัติ อันเป็นทิพย์ในสัมปรายภพอยู่
ย่อมเห็นกรรมดีว่า ดีจริง ๆ ดังนี้.
ในกาลจบเทศนา เทวดานั้น ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระธรรม-
เทศนา ได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้มาประชุมกัน ดังนี้เเล.
เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี จบ.

5. เรื่องภิกษุไม่ถนอมบริขาร [99]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ผู้ไม่ถนอมบริขาร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มาวมญฺเญถ ปาปสฺส "
เป็นต้น.

ของสงฆ์ใช้เเล้วควรรีบเก็บ


ได้ยินว่า ภิกษุนั้น ใช้สอยบริขารอันต่างด้วยเตียงและตั่งเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่ง ในภายนอกแล้ว ทิ้งไว้ในที่นั้นนั่นเอง. บริขารย่อม
เสียหายไป เพราะฝนบ้าง แดดบ้าง พวกสัตว์มีปลวกเป็นต้นบ้าง. ภิกษุ
นั้น เมื่อพวกภิกษุกล่าวเตือนว่า " ผู้มีอายุ ธรรมดาบริขาร ภิกษุควร
เก็บงำมิใช่หรือ ? " กลับกล่าวว่า " กรรมที่ผมทำนั่นนิดหน่อย ผู้มีอายุ,
บริขารนั่นไม่มีจิต, ความวิจิตรก็ไม่มี " ดังนี้แล้ว (ยังขืน) ทำอยู่อย่างนั้น
นั่นแลอีก. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลกิริยา (การ) ของเธอแด่พระศาสดา.
พระศาสดารับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุ ข่าวว่า
เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ ? " เธอแม้ถูกพระศาสดาตรัสถามแล้ว ก็กราบ-
ทูลอย่างดูหมิ่นอย่างนั้นนั่นแหละว่า " ข้าเเต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้น
จะเป็นอะไร, ข้าพระองค์ทำกรรมเล็กน้อย. บริขารนั้น ไม่มีจิต. ความ
วิจิตรก็ไม่มี. "

อย่าดูหมิ่นกรรมชั่วว่านิดหน่อย


ทีนั้น พระศาสดาตรัสกับเธอว่า " อันภิกษุทั้งหลายทำอย่างนั้น
ย่อมไม่ควร, ขึ้นชื่อว่าบาปกรรม ใคร ๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่า นิดหน่อย;