เมนู

8. เรื่องพระกาลเถระ [134]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระกาลเถระ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย สาสนํ " เป็นต้น.

พระเถระไม่ให้อุปัฏฐายิกาไปฟังธรรม


ดังได้ยินมา หญิงคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ตั้งอยู่ในที่แห่งมารดา
ทำนุบำรุงพระเถระนั้นอยู่. พวกคนในเรือนแห่งผู้คุ้นเคยของหญิงนั้น
ฟังธรรมในสำนักพระศาสดาแล้ว กลับมาเรือนแล้ว สรรเสริญอยู่ว่า
" โอ ชื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอัศจรรย์. โอ พระธรรมเทศนาก็
ไพเราะ. " หญิงนั้น ฟังถ้อยคำของคนพวกนั้นแล้ว จึงบอกแก่พระกาละ
ว่า " ท่านเจ้าข้า ดิฉันอยากจะฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาบ้าง. " เธอ
ห้ามเขาว่า " อย่าไปที่นั่นเลย." หญิงนั้นในวันรุ่งขึ้นก็ขออีก แม้อัน
พระกาละนั้นห้ามอยู่ถึง 3 ครั้งก็ยังอยากจะฟังอยู่นั้นแล. มีคำถามสอดเข้า
มาว่า " ก็เหตุไฉน ? เธอจึงได้ห้ามเขาเสีย." แก้ว่า " ได้ยินว่า เธอ
ได้มีความเห็นเช่นนี้ว่า " อุบาสิกานี้ ได้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดาแล้ว
จักแตกจากเรา " เหตุนั้น เธอจึงได้ห้ามเขาเสีย.
วันหนึ่ง หญิงนั้นบริโภคอาหารเสร็จสมาทานอุโบสถแล้ว สั่งบุตรี
ไว้ว่า " แม่ จงอังคาสพระผู้เป็นเจ้าให้ดี " แล้วได้ไปวิหารแต่เช้าเทียว.
ฝ่ายบุตรีของเขาก็อังคาสพระกาละโดยเรียบร้อย ในกาลเธอมาถึง เธอ
ถามว่า " อุบาสิกาผู้ใหญ่ไปไหน ? " (นาง) ตอบว่า " ไปวิหารเพื่อฟัง
ธรรม. " เธอพอได้ฟังข่าวนั้น ทุรนทุรายอยู่เพราะความกลัดกลุ้มอันตั้ง
ขึ้นในท้อง (ควรจะเป็น อนฺโต ในภายใน) นึกว่า " เดี๋ยวนี้ อุบาสิกา

นั้นแตกจากเราแล้ว " รีบไป เห็นหญิงนั้นฟังธรรมอยู่ในสำนักพระศาสดา
จึงทูลพระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า หญิงคนนี้เขลา ไม่เข้าใจธรรมกถาอัน
ละเอียด. อย่าตรัสธรรมกถาอันละเอียดซึ่งประดับด้วยสภาวธรรมมีขันธ์
เป็นต้น ตรัสแต่เพียงทานกถาหรือสีลกถาแก่เขาก็พอ."

สักการะย่อมฆ่าคนถ่อย


พระศาสดา ทรงทราบอัธยาสัยของเธอแล้ว ตรัสว่า " เธอเป็น
คนปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า ห้ามปรามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า.
เธอพยายามเพื่อฆ่าตนเอง " แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
8. โย สาสนํ อรหตํ อริยานํ ธมฺมชีวินํ
ปฏิกฺโกสิ ทุมฺเมโธ ทิฏฺฐึ นิสฺสาย ปาปิกํ
ผลานิ กณฺฏกสฺเสว อตฺตฆญฺญาย ผลฺลติ.
" บุคคลใดปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า คัด
ค้านคำสั่งสอนของพระอริยบุคคล ผู้อรหันต์ มีปกติ
เป็นอยู่โดยธรรม, บุคคลนั้นย่อมเกิดมาเพื่อฆ่าตน
เหมือนขุยแห่งไม้ไผ่. "

แก้อรรถ


ความแห่งพระคาถานั้นว่า :-
บุคคลใดปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า ห้ามปรามพวกคนผู้
กล่าวอยู่ว่า ' จักฟังธรรมก็ดี.' ว่า ' จักถวายทานก็ดี.' เพราะกลัวแต่
เสื่อมสักการะของตน ชื่อว่าโต้แย้งคำสั่งสอนของพระอริยบุคคลผู้อรหันต์
มีปกติเป็นอยู่โดยธรรม คือพระพุทธเจ้า. การโต้แย้งและทิฏฐิอันเลวทราม
นั้นของบุคคลนั้น ย่อมเป็นเหมือนขุยของไม้มีหนาม กล่าวคือไม้ไผ่,