เมนู

6. ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺย. มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ
กโรติ โส ตถตฺตานํ ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส.
" ความเป็นผู้ทุศีลล่วงส่วน รวบรัด (อัตภาพ)
ของบุคคลใด ดุจเถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละ ฉะนั้น,
บุคคลนั้น ย่อมทำตนอย่างเดียวกันกับที่โจรหัวโจก
ปรารถนาทำให้ตนฉะนั้น. "

แก้อรรถ


ความเป็นผู้ทุศีลโดยส่วนเดียว ชื่อว่า อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ ในพระคาถา
นั้น. บุคคลผู้เป็นคฤหัสถ์ ทำอกุศลกรรมบถ 10 ตั้งแต่เกิดก็ดี. ผู้เป็น
บรรพชิต ต้องครุกาบัติ1 ตั้งแต่วันอุปสมบทก็ดี ชื่อว่า ผู้ทุศีลล่วงส่วน.
แต่บทว่า อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในพระคาถา
นี้ ทรงหมายเอาความเป็นผู้ทุศีลอันมาแล้วตามคติของบุคคลผู้ทุศีลใน
2 - 3 อัตภาพ.
อนึ่ง ตัณหาอันอาศัยทวาร 6 ของผู้ทุศีลเกิดขึ้น บัณฑิตพึงทราบว่า
" ความเป็นผู้ทุศีล " ในพระคาถานี้.
บาทพระคาถาว่า มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ ความว่า ความเป็นผู้ทุศีล
กล่าวคือตัณหา รวบรัด คือหุ้มห่ออัตภาพของบุคคลใดตั้งอยู่. เหมือน
เถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละ. คือปกคลุมทั่วทั้งหมดทีเดียว ด้วยสามารถรับ
น้ำด้วยใบในเมื่อฝนตก แล้วหักรานลงฉะนั้นแล. บุคคลนั้นคือผู้ถูกตัณหา
กล่าวคือความเป็นผู้ทุศีลนั้นหักราน ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย เหมือน
1. แปลว่า อาบัติหนัก ได้แก่ ปราชิก และสังฆาทิเสส.