เมนู

6. เรื่องพระเทวทัต [132]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระเทวทัต
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ " เป็นต้น.

สนทนาเรื่องลามกของพระเทวทัต


ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง พวกภิกษุ สนทนากันในโรงธรรมว่า
" ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก เกลี้ยกล่อม
พระเจ้าอชาตศัตรู ยังลาภสักการะเป็นอันมากให้เกิดขึ้น ชักชวนพระเจ้า
อชาตศัตรู ในการฆ่าพระราชบิดา เป็นผู้ร่วมคิดกับพระเจ้าอชาตศัตรูนั้น
ตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าพระตถาคตเจ้าด้วยประการต่าง ๆ เพราะตัณหา
อันเจริญขึ้นแล้ว ด้วยเหตุคือความเป็นผู้ทุศีลนั่นเอง. "
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่ง
สนทนากันด้วยกถาอะไรหนอ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วย
กถาชื่อนี้, " จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น. ถึงใน
กาลก่อน เทวทัตก็ตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าเราด้วยประการต่าง ๆ เหมือน
กัน " ดังนี้แล้ว จึงตรัสชาดกทั้งหลาย มีกุรุงคชาดกเป็นต้น แล้วตรัส
ว่า " ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาอันเกิดขึ้นเพราะเหตุคือเป็นผู้ทุศีลหุ้มห่อ
รวบรัดซัดซึ่งบุคคลผู้ทุศีลล่วงส่วน ไปในอบายทั้งหลายมีนรกเป็นต้น
เหมือนเถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละจนหักรานลงฉะนั้น " ดังนี้แล้ว ตรัส
พระคาถานี้ว่า :-

6. ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺย. มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ
กโรติ โส ตถตฺตานํ ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส.
" ความเป็นผู้ทุศีลล่วงส่วน รวบรัด (อัตภาพ)
ของบุคคลใด ดุจเถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละ ฉะนั้น,
บุคคลนั้น ย่อมทำตนอย่างเดียวกันกับที่โจรหัวโจก
ปรารถนาทำให้ตนฉะนั้น. "

แก้อรรถ


ความเป็นผู้ทุศีลโดยส่วนเดียว ชื่อว่า อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ ในพระคาถา
นั้น. บุคคลผู้เป็นคฤหัสถ์ ทำอกุศลกรรมบถ 10 ตั้งแต่เกิดก็ดี. ผู้เป็น
บรรพชิต ต้องครุกาบัติ1 ตั้งแต่วันอุปสมบทก็ดี ชื่อว่า ผู้ทุศีลล่วงส่วน.
แต่บทว่า อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในพระคาถา
นี้ ทรงหมายเอาความเป็นผู้ทุศีลอันมาแล้วตามคติของบุคคลผู้ทุศีลใน
2 - 3 อัตภาพ.
อนึ่ง ตัณหาอันอาศัยทวาร 6 ของผู้ทุศีลเกิดขึ้น บัณฑิตพึงทราบว่า
" ความเป็นผู้ทุศีล " ในพระคาถานี้.
บาทพระคาถาว่า มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ ความว่า ความเป็นผู้ทุศีล
กล่าวคือตัณหา รวบรัด คือหุ้มห่ออัตภาพของบุคคลใดตั้งอยู่. เหมือน
เถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละ. คือปกคลุมทั่วทั้งหมดทีเดียว ด้วยสามารถรับ
น้ำด้วยใบในเมื่อฝนตก แล้วหักรานลงฉะนั้นแล. บุคคลนั้นคือผู้ถูกตัณหา
กล่าวคือความเป็นผู้ทุศีลนั้นหักราน ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย เหมือน
1. แปลว่า อาบัติหนัก ได้แก่ ปราชิก และสังฆาทิเสส.