เมนู

ลำบากอยู่เหลือเกิน ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่สามารถจะยังคุณวิเศษให้บังเกิด
ได้. ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาแล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดา มีปฏิสันถาร
อันพระศาสดาทรงทำแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้
ไม่ประมาท ทำสมณธรรมหรือ ? จึงกราบทูลความนั้น.

เรื่องไก่ขันไม่เป็นเวลา


พระศาสดา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ได้ทำอันตรายแก่พวก
เธอไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน ภิกษุนั้นก็ได้ทำอันตรายแก่
พวกเธอเหมือนกัน " อันภิกษุเหล่านั้น ทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงยังอกาล-
รวกุกกุฏชาดก1 ให้พิสดาร (ความย่อ) ว่า :-
" ไก่ตัวนี้ เติบโตแล้วในสำนักของผู้มิใช่มารดา
และบิดา อยู่ในสกุลแห่งผู้มิใช่อาจารย์ จึงไม่รู้จัก
กาลหรือมิใช่กาล "

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย อันธรรมดาภิกษุ เมื่อกล่าวสอนคนอื่น
พึงทำตนให้เป็นอันทรมานดีแล้ว, เพราะบุคคล เมื่อกล่าวสอนอย่างนั้น
เป็นผู้ฝึกดีแล้ว ชื่อว่าย่อมฝึกได้ " แล้วตรัสพระคาถานี้ :-
3. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ
สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
" ถ้าบุคคลพร่ำสอนผู้อื่นอยู่ฉันใด, พึงทำตน
ฉันนั้น, บุคคลผู้มีตนฝึกดีแล้วหนอ (จึง) ควรฝึก
(ผู้อื่น) เพราะว่าได้ยินว่า ตนฝึกได้โดยยาก."

1. ขุ. ชา. เอก. 27/38. อรรถกถา. 2/302. อกาลราวิชาดก.

แก้อรรถ


พึงทราบความแห่งพระคาถานี้ว่า :-
"ภิกษุกล่าวแล้วว่า ่พึงจงกรมในปฐมยามเป็นต้น ' ชื่อว่าย่อมกล่าว
สอนผู้อื่นฉันใด ตนเองก็ฉันนั้น อธิษฐานกิจมีจงกรมเป็นต้น ชื่อว่าพึง
กระทำตนเหมือนอย่างสอนผู้อื่น. เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีตนฝึก
ดีแล้วหนอ ควรฝึก(บุคคลอื่น). "
บาทพระคาถาว่า สุทนฺโต วต ทเมถ ความว่า ภิกษุย่อมพร่ำสอน
ผู้อื่น ด้วยคุณอันใด. เป็นผู้ฝึกฝนดีแล้วด้วยตน ด้วยคุณอันนั้น ควรฝึก
(ผู้อื่น).
บาทพระคาถาว่า อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม ความว่า เพราะว่าชื่อว่า
ตนนี้ เป็นสภาพอันบุคคลฝึกฝนได้ยาก. เพราะเหตุนั้น ตนนั้นย่อมเป็น
สภาพอันบุคคลฝึกฝนดีแล้ว ด้วยประการใด ควรฝึกฝนตนด้วยประการ
นั้น.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุแม้ประมาณ 500 รูปนั้น บรรลุพระ-
อรหัตผลแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพระปธานิติสสเถระ จบ.