เมนู

3. เรื่องพระปธานิกติสสเถระ [129]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระปธานิก-
ติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตานญฺเจ " เป็นต้น.

พระปธานิกติสสเถระดีแต่สอนคนอื่น ตนไม่ทำ


ดังได้สดับมา พระเถระนั้นเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระ-
ศาสดาแล้ว พวกภิกษุประมาณ 500 รูปไปจำพรรษาในป่า กล่าวสอนว่า
"ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงพระชนม์อยู่, จงเป็นผู้ไม่ประมาท ทำสมณธรรมเถิด" ดังนี้แล้ว
ตนเองก็ไปนอนหลับ. ภิกษุเหล่านั้นจงกรมในปฐมยามแล้ว เข้าไปสู่วิหาร
ในมัชฌิมยาม. พระเถระนั้นไปสู่สำนักของภิกษุเหล่านั้น ในเวลาตนนอน
หลับแล้วตื่นขึ้น กล่าวว่า "พวกท่านมาด้วยหวังว่า 'จักหลับนอน' ดังนี้
หรือ ? จงรีบออกไปทำสมณธรรมเถิด" ดังนี้แล้ว ตนเองก็ไปนอน
เหมือนอย่างนั้นนั่นแล. พวกภิกษุนอกนี้ จงกรมในภายนอกในมัชฌิมยาม
แล้ว เข้าไปสู่วิหารในปัจฉิมยาม. พระเถระนั้น ตื่นขึ้นแม้อีกแล้ว ไปสู่
สำนักของภิกษุเหล่านั้น นำภิกษุเหล่านั้นออกจากวิหารแล้ว ตนเองก็ไป
นอนหลับเสียอีก. เมื่อพระเถระนั้นกระทำอยู่อย่างนั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์.
ภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะทำการสาธยายหรือทำพระกัมมัฏฐานไว้ในใจได้.
จึงได้ถึงความฟุ้งซ่านแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นปรึกษากันว่า " อาจารย์ของพวก
เรา ปรารภความเพียรเหลือเกิน, พวกเราจักคอยจับท่าน " เมื่อคอยจับอยู่
เห็นกิริยาของพระเถระนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเรา
ฉิบหายแล้ว, อาจารย์ของพวกเราย่อมร้องเปล่า ๆ " บรรดาภิกษุเหล่านั้น

ลำบากอยู่เหลือเกิน ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่สามารถจะยังคุณวิเศษให้บังเกิด
ได้. ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาแล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดา มีปฏิสันถาร
อันพระศาสดาทรงทำแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้
ไม่ประมาท ทำสมณธรรมหรือ ? จึงกราบทูลความนั้น.

เรื่องไก่ขันไม่เป็นเวลา


พระศาสดา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ได้ทำอันตรายแก่พวก
เธอไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน ภิกษุนั้นก็ได้ทำอันตรายแก่
พวกเธอเหมือนกัน " อันภิกษุเหล่านั้น ทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงยังอกาล-
รวกุกกุฏชาดก1 ให้พิสดาร (ความย่อ) ว่า :-
" ไก่ตัวนี้ เติบโตแล้วในสำนักของผู้มิใช่มารดา
และบิดา อยู่ในสกุลแห่งผู้มิใช่อาจารย์ จึงไม่รู้จัก
กาลหรือมิใช่กาล "

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย อันธรรมดาภิกษุ เมื่อกล่าวสอนคนอื่น
พึงทำตนให้เป็นอันทรมานดีแล้ว, เพราะบุคคล เมื่อกล่าวสอนอย่างนั้น
เป็นผู้ฝึกดีแล้ว ชื่อว่าย่อมฝึกได้ " แล้วตรัสพระคาถานี้ :-
3. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ
สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
" ถ้าบุคคลพร่ำสอนผู้อื่นอยู่ฉันใด, พึงทำตน
ฉันนั้น, บุคคลผู้มีตนฝึกดีแล้วหนอ (จึง) ควรฝึก
(ผู้อื่น) เพราะว่าได้ยินว่า ตนฝึกได้โดยยาก."

1. ขุ. ชา. เอก. 27/38. อรรถกถา. 2/302. อกาลราวิชาดก.