เมนู

ทรัพย์ 18 โกฏิ ที่พวกค้าขายถือเอาไป ด้วยอานุภาพของตนแล้ว บรรจุ
ไว้ให้เต็มในห้องเปล่า. ทรัพย์ 18 โกฏิ ที่จมลงยังมหาสมุทรมีอยู่ก็ดี.
ทรัพย์ 8 โกฏิ ส่วนอื่น ซึ่งหาเจ้าของมิได้ มีอยู่ในที่โน้นก็ดี. จงรวบ
รวมทรัพย์ทั้งหมดนั้น บรรจุไว้ให้เต็มในห้องเปล่าของเศรษฐี ครั้นทำ
กรรมชื่อนี้ให้เป็นทัณฑกรรมแล้ว จึงขอขมาโทษเศรษฐี.

เศรษฐีกลับรวยอย่างเดิม


เทวดานั้น รับว่า " ดีละ เทพเจ้า " แล้วทำกรรมทุก ๆ อย่างตาม
นัยที่ท้าวสักกะตรัสบอกแล้วนั่นแล ยังห้องอันเป็นสิริของท่านเศรษฐีให้
สว่างไสว ดำรงอยู่ในอากาศ เมื่อท่านเศรษฐีกล่าวว่า " นั่น ใคร " จึง
ตอบว่า " ข้าพเจ้าเป็นเทวดาอันธพาล ซึ่งสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูที่ 4 ของ
ท่าน. คำใด อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในสำนักของท่านด้วยความเป็นอันธ-
พาล. ขอท่านจงอดโทษคำนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด. เพราะข้าพเจ้าได้ทำทัณฑ-
กรรมด้วยการรวบรวมทรัพย์ 54 โกฏิ มาบรรจุไว้เต็มห้องเปล่า ตาม
บัญชาของท้าวสักกะ. ข้าพเจ้าเมื่อไม่ได้ที่อยู่ ย่อมลำบาก. "

เศรษฐีอดโทษแก่เทวดา


อนาถบิณฑิกเศรษฐี จินตนาการว่า " เทวดานี้ กล่าวว่า "ทัณฑ-
กรรม อันข้าพเจ้ากระทำแล้ว" ดังนี้. และรู้สึกโทษ (ความผิด) ของตน.
เราจักแสดงเทวดานั้นแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า." ท่านเศรษฐี นำเทวดา
นั้นไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลกรรมอันเทวดานั้นทำแล้ว
ทั้งหมด.
เทวดาหมอบลงด้วยเศียรเกล้า แทบพระบาทยุคลแห่งพระศาสดา

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบพระคุณทั้งหลาย
ของพระองค์ ได้กล่าวคำใดอันชั่วช้า เพราะความเป็นอันธพาล. ขอ
พระองค์ทรงงดโทษคำนั้นแก่ข้าพระองค์ ให้พระศาสดาทรงอดโทษแล้ว
จึงให้ท่านมหาเศรษฐีอดโทษให้ (ในภายหลัง).

เมื่อกรรมให้ผล คนโง่จึงเห็นถูกต้อง


พระศาสดา เมื่อจะทรงโอวาทเศรษฐีและเทวดา ด้วยสามารถวิบาก
แห่งกรรมดีและชั่วนั่นแล จึงตรัสว่า " ดูก่อนคฤหบดี แม้บุคคลผู้ทำบาป
ในโลกนี้ ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล. แต่เมื่อใด
บาปของเขาเผล็ดผล, เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นบาปว่าชั่วเเท้ ๆ; ฝ่ายบุคคล
ผู้ทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล,
แต่เมื่อใด กรรมดีของเขาเผล็ดผล. เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นกรรมดีว่า
ดีจริง ๆ " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ภาษิตพระ-
คาถาเหล่านี้ว่า
4. ปาโปปิ ปสฺสติ ภทฺรํ ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจติ ปาปํ อถ (ปาโป) ปาปานิ ปสฺสติ.
ภโทฺรปิ ปสฺสติ ปาปํ ยาว ภทฺรํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจติ ภทฺรํ อถ (ภโทฺร) ภทฺรานิ ปสฺสติ.

" แม้คนผู้ทำบาป ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาล
ที่บาปยังไม่เผล็ดผล, แต่เมื่อใด บาปเผล็ดผล,
เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นบาปว่าชั่ว, ฝ่ายคนทำกรรมดี
ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ด