เมนู

" หางเป็นของนาก ผู้เที่ยวหากินตามริมฝั่ง, ศีรษะ
เป็นของนาก ผู้เที่ยวหากินในน้ำลึก, ส่วนท่อน
กลางนี้ จักเป็นของเรา ผู้ตั้งอยู่ในธรรม."

ดังนี้แล้ว คาบเอาท่อนกลางหลีกไป. แม้นากทั้งสองนั้นเดือดร้อน ได้
ยืนแลดูสุนัขจิ้งจอกนั้นแล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงแสดงเรื่องอดีตนี้แล้ว ตรัสว่า แม้ในอดีตกาล
อุปนันทะนี้ได้กระทำพวกเธอให้เดือดร้อนอย่างนี้เหมือนกัน " ให้ภิกษุเหล่า
นั้นยินยอมแล้ว เมื่อจะทรงติเตียนพระอุปนันทะ จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมดาผู้จะสั่งสอนผู้อื่น พึงให้ตนตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อนทีเดียว "
ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
2. อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต.
" บัณฑิตพึงตั้งตนนั่นแล ในคุณอันสมควรก่อน.
พึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง. จะไม่พึงเศร้าหมอง. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ปฏิรูเป นิเวสเย ได้แก่ พึง
ยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควร. พระศาสดาตรัสคำนี้ว่า " บุคคลใด
ประสงค์จะสั่งสอนผู้อื่น ด้วยคุณมีความปรารถนาน้อยเป็นต้น หรือด้วย
ปฏิปทาของอริยวงศ์เป็นต้น. บุคคลนั้น พึงยังตนนั่นแลให้ตั้งอยู่ในคุณ
นั้นก่อน; ครั้นตั้งตนไว้อย่างนั้นแล้ว พึงสั่งสอนผู้อื่น ด้วยคุณนั้นใน
ภายหลัง. ด้วยว่าบุคคล เมื่อไม่ยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณนั้น สอนผู้อื่นอย่าง