เมนู

นั้นด้วยผ้าและจีวรเป็นอันมากทีเดียว. พระอุปนันทะนั้นออกพรรษาแล้ว
ส่งข่าวไปในวิหารแม้นอกนี้ว่า " เราควรได้ผ้าจำนำพรรษา เพราะเราวาง
บริขารไว้, ภิกษุทั้งหลายจงส่งผ้าจำนำพรรษาให้เรา " ให้นำผ้าจำนำ
พรรษาทั้งหมดมาแล้ว บรรทุกยานน้อยขับไป.

พระอุปนันทะตัดสินข้อพิพากษา


ครั้งนั้นภิกษุหนุ่ม 2 รูปในวิหารแห่งหนึ่ง ได้ผ้าสาฎก 2 ผืน
และผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ไม่อาจจะแบ่งกันได้ว่า " ผ้าสาฎกจงเป็นของท่าน,
ผ้ากัมพลเป็นของเรา " นั่งทะเลาะกันอยู่ใกล้หนทาง. ภิกษุหนุ่ม 2 รูปนั้น
เห็นพระเถระนั้นเดินมา จึงกล่าวว่า " ขอท่านจงช่วยแบ่งให้แก่พวกผม
เถิด ขอรับ. "
เถระ. พวกคุณจงแบ่งกันเองเถิด.
ภิกษุ. พวกผมไม่สามารถ ขอรับ ขอท่านจงแบ่งให้พวกผมเถิด.
เถระ. พวกคุณจักตั้งอยู่ในคำของเราหรือ ?
ภิกษุ. ขอรับ พวกผมจักตั้งอยู่.
พระเถระนั้นกล่าวว่า " ถ้ากระนั้น ดีละ " ให้ผ้าสาฎก 2 ผืนแก่
ภิกษุหนุ่ม 2 รูปนั้นแล้ว กล่าวว่า " ผ้ากัมพลผืนนี้ จงเป็นผ้าห่มของเรา
ผู้กล่าวธรรมกถา " ดังนี้แล้ว ก็ถือเอาผ้ากัมพลมีค่ามากหลีกไป. พวก
ภิกษุหนุ่มเป็นผู้เดือดร้อน ไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้น
แล้ว.

บุรพกรรมของพระอุปนันทะ


พระศาสดา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย อุปนันทะนี้ถือเอาของ ๆ พวก

เธอ กระทำให้พวกเธอเดือดร้อนในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน
ก็ได้ทำแล้วเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า :-
ก็ในอดีตกาล นาก2 ตัว คือนากเที่ยวหากินตามริมฝั่ง 1 นาก
เที่ยวหากินทางน้ำลึก 1 ได้ปลาตะเพียนตัวใหญ่ ถึงความทะเลาะกันว่า
" ศีรษะจงเป็นของเรา. หางจงเป็นของท่าน. " ไม่อาจจะแบ่งกันได้ เห็น
สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง จึงกล่าวว่า " ลุง ขอท่านจงช่วยแบ่งปลานี้ ให้แก่
พวกข้าพเจ้า. "
สุนัขจิ้งจอก. เราอันพระราชาตั้งไว้ในตำแหน่งผู้พิพากษา, เรานั่ง
ในที่วินิจฉัยนั้นนานแล้ว จึงมาเสียเพื่อต้องการเดินเที่ยวเล่น.1 เดี๋ยวนี้
โอกาสของเราไม่มี.
นาก. ลุง ท่านอย่าทำอย่างนี้เลย. โปรดช่วยแบ่งให้พวกข้าพเจ้า
เถิด.
สุนัขจิ้งจอก. พวกเจ้าจักตั้งอยู่ในคำของเราหรือ ?
นาก. พวกข้าพเจ้าจักตั้งอยู่ ลุง.
สุนัขจิ้งจอกนั้น กล่าวว่า " ถ้าเช่นนั้น ดีละ " จึงได้ตัดทำหัวไว้
ข้างหนึ่ง. หางไว้ข้างหนึ่ง; ก็แลครั้นทำแล้ว จึงกล่าวว่า " พ่อทั้งสอง
บรรดาพวกเจ้าทั้งสอง ตัวใดเที่ยวไปริมฝั่ง ตัวนั้นจึงถือทางหาง. ตัวใด
เที่ยวไปในน้ำลึก. ศีรษะจงเป็นของตัวนั้น. ส่วนท่อนกลางนี้จักเป็นของ
เรา ผู้ตั้งอยู่ในวินิจฉัยธรรม " เมื่อจะให้นากเหล่านั้นยินยอม จึงกล่าว
คาถา2นี้ว่า:-
1 . ชงฺฆวิหาร ศัพท์นี้ แปลว่า เดินเที่ยวเล่นหรือพักแข้ง. 2. ขุ. ชา. สัตตก. 27/216.
อรรถกถา. 5/137.

" หางเป็นของนาก ผู้เที่ยวหากินตามริมฝั่ง, ศีรษะ
เป็นของนาก ผู้เที่ยวหากินในน้ำลึก, ส่วนท่อน
กลางนี้ จักเป็นของเรา ผู้ตั้งอยู่ในธรรม."

ดังนี้แล้ว คาบเอาท่อนกลางหลีกไป. แม้นากทั้งสองนั้นเดือดร้อน ได้
ยืนแลดูสุนัขจิ้งจอกนั้นแล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงแสดงเรื่องอดีตนี้แล้ว ตรัสว่า แม้ในอดีตกาล
อุปนันทะนี้ได้กระทำพวกเธอให้เดือดร้อนอย่างนี้เหมือนกัน " ให้ภิกษุเหล่า
นั้นยินยอมแล้ว เมื่อจะทรงติเตียนพระอุปนันทะ จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมดาผู้จะสั่งสอนผู้อื่น พึงให้ตนตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อนทีเดียว "
ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-
2. อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต.
" บัณฑิตพึงตั้งตนนั่นแล ในคุณอันสมควรก่อน.
พึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง. จะไม่พึงเศร้าหมอง. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ปฏิรูเป นิเวสเย ได้แก่ พึง
ยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควร. พระศาสดาตรัสคำนี้ว่า " บุคคลใด
ประสงค์จะสั่งสอนผู้อื่น ด้วยคุณมีความปรารถนาน้อยเป็นต้น หรือด้วย
ปฏิปทาของอริยวงศ์เป็นต้น. บุคคลนั้น พึงยังตนนั่นแลให้ตั้งอยู่ในคุณ
นั้นก่อน; ครั้นตั้งตนไว้อย่างนั้นแล้ว พึงสั่งสอนผู้อื่น ด้วยคุณนั้นใน
ภายหลัง. ด้วยว่าบุคคล เมื่อไม่ยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณนั้น สอนผู้อื่นอย่าง