เมนู

อยู่ว่า เป็นที่รัก พึงไม่ประมาท รักษาตนแม้ในวัยทั้งสาม เมื่อไม่อาจ
(รักษา) ได้อย่างนั้น พึงรักษาให้ได้แม้ในวัยหนึ่ง " ดังนี้แล้ว จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า :-
1. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ
ติณฺณํ อญฺญตรํ ยามํ ปฏิชคฺเคยฺย ปณฺฑิโต.
" ถ้าบุคคลทราบตนว่า เป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น
ให้เป็นอันรักษาด้วยดี, บัณฑิตพึงประคับประคอง
(ตน) ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยามํ นี้ พระศาสดาทรงแสดงทำวัยทั้ง
3 วัยด้วยหนึ่งให้ชื่อว่า ยาม เพราะความที่พระองค์ทรงเป็นใหญ่ในธรรม
และเพราะความที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนาวิธี เพราะเหตุนั้น ในพระ-
คาถานี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนั้นว่า " ถ้าบุคคลทราบตนว่า เป็น
ที่รัก. พึงรักษาตนนั้น ให้เป็นอันรักษาดีแล้ว; คือพึงรักษาตนนั้น โดย
ประการที่ตนเป็นอันรักษาดีแล้ว."
บรรดาชนผู้รักษาตนเหล่านั้น ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์คิดว่า ' จักรักษาตน '
ดังนี้แล้ว เข้าไปสู่ห้องที่เขาปิดไว้ให้เรียบร้อย เป็นผู้มีอารักขาสมบูรณ์
อยู่บนพื้นปราสาทชั้นบนก็ดี. ผู้เป็นบรรพชิต อยู่ในถ้ำอันปิดเรียบร้อย
มีประตูและหน้าต่างอันปิดแล้วก็ดี ยังไม่ชื่อว่ารักษาตนเลย. แต่ผู้เป็น
คฤหัสถ์ทำบุญทั้งหลายมีทาน ศีล เป็นต้นตามกำลังอยู่. หรือผู้เป็นบรรพชิต
ถึงความขวนขวายในวัตร ปฏิวัตร ปริยัติ และการทำไว้ในใจอยู่ ชื่อว่า
ย่อมรักษาตน.

บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อไม่อาจ (ทำ) อย่างนั้นได้ในวัย (ต้อง)
ประคับประคองตนไว้ แม้ในวัยใดวัยหนึ่งก็ได้เหมือนกัน. ก็ถ้าผู้เป็น
คฤหัสถ์ ไม่อาจทำกุศลได้ในปฐมวัย เพราะความเป็นผู้หมกมุ่นอยู่ในการ
เล่นไซร้. ในมัชฌิมวัย พึงเป็นผู้ไม่ประมาทบำเพ็ญกุศล. ถ้าในมัชฌิมวัย
ยังต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา ไม่อาจบำเพ็ญกุศลได้ไซร้. ในปัจฉิมวัย พึง
บำเพ็ญกุศลให้ได้. ด้วยอาการแม้อย่างนี้ ตนต้องเป็นอันเขาประคับ
ประคองแล้วทีเดียว. แต่เมื่อเขาไม่ทำอย่างนั้น ตนย่อมชื่อว่า ไม่เป็นที่รัก.
ผู้นั้น (เท่ากับ) ทำตนนั้น ให้มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าทีเดียว.
ก็ถ้าว่า บรรพชิต ในปฐมวัยทำการสาธยายอยู่ ทรงจำ บอก ทำ
วัตรและปฏิวัตรอยู่ เชื่อว่าถึงความประมาท ในมัชฌิมวัย พึงเป็นผู้ไม่
ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม.
อนึ่ง ถ้ายังสอบถามอรรถกถาและวินิจฉัย และเหตุแห่งพระปริยัติ
อันตนเรียนแล้วในปฐมวัยอยู่ ชื่อว่าถึงความประมาท ในมัชฌิมวัย. ใน
ปัจฉิมวัย พึงเป็นผู้ไม่ประมาทบำเพ็ญสมณธรรม. ด้วยอาการแม้อย่างนี้
ตนย่อมเป็นอันบรรพชิตนั้น ประคับประคองแล้วทีเดียว. แต่เมื่อไม่ทำ
อย่างนั้น ตนย่อมชื่อว่า ไม่เป็นที่รัก. บรรพชิตนั้น (เท่ากับ) ทำตนนั้น
ให้เดือดร้อน ด้วยการตามเดือดร้อนในภายหลังแท้.
ในกาลจบเทศนา โพธิราชกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว พระ-
ธรรมเทศนาได้สำเร็จประโยชน์ แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องโพธิราชกุมาร จบ.

2. เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร [128]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอุป-
นันทศากยบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตานเมว ปฐมํ " เป็นต้น.

พระเถระออกอุบายหาลาภ


ดังได้สดับมา พระเถระนั้นฉลาดกล่าวธรรมกถา. ภิกษุเป็นอันมาก
ฟังธรรมกถาอันปฏิสังยุตด้วยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น ของ
ท่านแล้ว จึงบูชาท่านด้วยจีวรทั้งหลาย สมาทานธุดงค์. พระอุปนันทะนั้น
รูปเดียว รับเอาบริขารที่ภิกษุเหล่านั้นสละแล้ว.
เมื่อภายในกาลฝนหนึ่งใกล้เข้ามา พระอุปนันทะนั้นได้ไปสู่ชนบท
แล้ว. ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มและสามเณรในวิหารแห่งหนึ่ง กล่าวกะท่าน
ด้วยความรักในธรรมกถึกว่า " ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเข้าพรรษาในที่นี้
เถิด. " พระอุปนันทะถามว่า " ในวิหารนี้ ได้ผ้าจำนำพรรษากี่ผืน ? "
เมื่อภิกษุเหล่านั้น ตอบว่า " ได้ผ้าสาฎกองค์ละผืน " จึงวางรองเท้าไว้ใน
วิหารนั้น ได้ไปวิหารอื่น, ถึงวิหารที่ 2 แล้วถามว่า " ในวิหารนี้ ภิกษุ
ทั้งหลายได้อะไร ? " เมื่อพวกภิกษุตอบว่า " ได้ผ้าสาฎก 2 ผืน " จึงวาง
ไม้เท้าไว้. ถึงวิหารที่ 3 ถามว่า " ในวิหารนี้ ภิกษุทั้งหลายได้อะไร "
เมื่อพวกภิกษุตอบว่า " ได้ผ้าสาฎก 3 ผืน. " จึงวางลักจั่นน้ำไว้; ถึง
วิหารที่ 4 ถามว่า " ในวิหารนี้ ภิกษุทั้งหลายได้อะไร ? " เมื่อพวกภิกษุ
ตอบว่า " ได้ผ้าสาฎก 4 ผืน. " จึงกล่าวว่า " ดีละ เราจักอยู่ในที่นี้ "
ดังนี้แล้ว เข้าพรรษาในวิหารนั้น กล่าวธรรมกถาแก่คฤหัสถ์เเละภิกษุ
ทั้งหลายนั่นแล. คฤหัสถ์และภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น บูชาพระอุปนันทะ