เมนู

อยู่ว่า เป็นที่รัก พึงไม่ประมาท รักษาตนแม้ในวัยทั้งสาม เมื่อไม่อาจ
(รักษา) ได้อย่างนั้น พึงรักษาให้ได้แม้ในวัยหนึ่ง " ดังนี้แล้ว จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า :-
1. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ
ติณฺณํ อญฺญตรํ ยามํ ปฏิชคฺเคยฺย ปณฺฑิโต.
" ถ้าบุคคลทราบตนว่า เป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น
ให้เป็นอันรักษาด้วยดี, บัณฑิตพึงประคับประคอง
(ตน) ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยามํ นี้ พระศาสดาทรงแสดงทำวัยทั้ง
3 วัยด้วยหนึ่งให้ชื่อว่า ยาม เพราะความที่พระองค์ทรงเป็นใหญ่ในธรรม
และเพราะความที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนาวิธี เพราะเหตุนั้น ในพระ-
คาถานี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนั้นว่า " ถ้าบุคคลทราบตนว่า เป็น
ที่รัก. พึงรักษาตนนั้น ให้เป็นอันรักษาดีแล้ว; คือพึงรักษาตนนั้น โดย
ประการที่ตนเป็นอันรักษาดีแล้ว."
บรรดาชนผู้รักษาตนเหล่านั้น ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์คิดว่า ' จักรักษาตน '
ดังนี้แล้ว เข้าไปสู่ห้องที่เขาปิดไว้ให้เรียบร้อย เป็นผู้มีอารักขาสมบูรณ์
อยู่บนพื้นปราสาทชั้นบนก็ดี. ผู้เป็นบรรพชิต อยู่ในถ้ำอันปิดเรียบร้อย
มีประตูและหน้าต่างอันปิดแล้วก็ดี ยังไม่ชื่อว่ารักษาตนเลย. แต่ผู้เป็น
คฤหัสถ์ทำบุญทั้งหลายมีทาน ศีล เป็นต้นตามกำลังอยู่. หรือผู้เป็นบรรพชิต
ถึงความขวนขวายในวัตร ปฏิวัตร ปริยัติ และการทำไว้ในใจอยู่ ชื่อว่า
ย่อมรักษาตน.