เมนู

พระศาสดา. เพราะความที่พระองค์กับพระชายา เป็นผู้ถึงความ
ประมาทแล้วในอัตภาพก่อน.
ราชกุมาร. ในกาลไหน ? พระเจ้าข้า.

บุรพกรรมของโพธิราชกุมาร


ลำดับนั้น พระศาสดาทรงนำอดีตนิทาน มาแสดงแด่พระราชกุมาร
นั้น:-
ดังได้สดับมา ในอดีตกาล มนุษย์หลายร้อยคนแล่นเรือลำใหญ่
ไปสู่มหาสมุทร. เรืออับปางในกลางสมุทร สองสามีภรรยาคว้าได้เเผ่น
กระดานแผ่นหนึ่ง (อาศัย) ว่ายเข้าไปสู่เกาะน้อยอันมีในระหว่าง มนุษย์
ที่เหลือทั้งหมดตายในมหาสมุทรนั้นนั่นแล. ก็หมู่นกเป็นอันมากอย่ที่เกาะ
นั้นแล เขาทั้งสองไม่เห็นสิ่งอื่นที่ควรกินได้ ถูกความหิวครอบงำแล้ว
จึงเผาฟองนกทั้งหลายที่ถ่านเพลิงแล้วเคี้ยวกิน. เมื่อฟองนกเหล่านั้นไม่
เพียงพอ ก็จับลูกนกทั้งหลายปิ้งกิน. เมื่อลูกนกเหล่านั้นไม่เพียงพอ
ก็จับนกทั้งหลาย (ปิ้ง) กิน. ในปฐมวัยก็ดี มัชฌิมวัยก็ดี ปัจฉิมวัยก็ดี
ได้เคี้ยวกินอย่างนี้แหละ. แม้ในวันหนึ่ง ก็มิได้ถึงความไม่ประมาท อนึ่ง
บรรดาชน 2 คนนั้น เเม้คนหนึ่งไม่ได้ถึงความไม่ประมาท.

พึงรักษาตนไว้ให้ดีในวัยทั้งสาม


พระศาสดา ครั้นทรงแสดงบุรพกรรมนี้ ของโพธิราชกุมารนั้นแล้ว
ตรัสว่า " ราชกุมาร ก็ในกาลนั้น ถ้าพระองค์กับภรรยาจักถึงความไม่
ประมาท แม้ในวัยหนึ่งไซร้ บุตรหรือธิดาพึงเกิดขึ้นแม้ในวัยหนึ่ง; ก็ถ้า
บรรดาท่านทั้งสองแม้คนหนึ่ง จักได้เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วไซร้. บุตรหรือ
ธิดา จักอาศัยผู้ไม่ประมาทนั้นเกิดขึ้น, ราชกุมาร ก็บุคคลเมื่อสำคัญตน

อยู่ว่า เป็นที่รัก พึงไม่ประมาท รักษาตนแม้ในวัยทั้งสาม เมื่อไม่อาจ
(รักษา) ได้อย่างนั้น พึงรักษาให้ได้แม้ในวัยหนึ่ง " ดังนี้แล้ว จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า :-
1. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ
ติณฺณํ อญฺญตรํ ยามํ ปฏิชคฺเคยฺย ปณฺฑิโต.
" ถ้าบุคคลทราบตนว่า เป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น
ให้เป็นอันรักษาด้วยดี, บัณฑิตพึงประคับประคอง
(ตน) ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยามํ นี้ พระศาสดาทรงแสดงทำวัยทั้ง
3 วัยด้วยหนึ่งให้ชื่อว่า ยาม เพราะความที่พระองค์ทรงเป็นใหญ่ในธรรม
และเพราะความที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนาวิธี เพราะเหตุนั้น ในพระ-
คาถานี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนั้นว่า " ถ้าบุคคลทราบตนว่า เป็น
ที่รัก. พึงรักษาตนนั้น ให้เป็นอันรักษาดีแล้ว; คือพึงรักษาตนนั้น โดย
ประการที่ตนเป็นอันรักษาดีแล้ว."
บรรดาชนผู้รักษาตนเหล่านั้น ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์คิดว่า ' จักรักษาตน '
ดังนี้แล้ว เข้าไปสู่ห้องที่เขาปิดไว้ให้เรียบร้อย เป็นผู้มีอารักขาสมบูรณ์
อยู่บนพื้นปราสาทชั้นบนก็ดี. ผู้เป็นบรรพชิต อยู่ในถ้ำอันปิดเรียบร้อย
มีประตูและหน้าต่างอันปิดแล้วก็ดี ยังไม่ชื่อว่ารักษาตนเลย. แต่ผู้เป็น
คฤหัสถ์ทำบุญทั้งหลายมีทาน ศีล เป็นต้นตามกำลังอยู่. หรือผู้เป็นบรรพชิต
ถึงความขวนขวายในวัตร ปฏิวัตร ปริยัติ และการทำไว้ในใจอยู่ ชื่อว่า
ย่อมรักษาตน.