เมนู

ทั้งเสื่อมแล้วจากโภคะของคฤหัสถ์ ทั้งเสื่อมแล้วจากสามัญผล. ก็แล
ครั้นเสื่อมแล้ว จึงเป็นเหมือนนกกะเรียนในเปือกตมแห้งฉะนั้น " ดังนี้แล้ว
จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
9. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ อลทฺธนา โยพฺพเน ธนํ
ชิณฺณโกญฺจาว ณายนฺติ ขีณมจฺเฉว ปลฺลเล
อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ
เสนฺติ จาปาติขีณาว ปุราณานิ อนุตฺถุนํ.
" พวกคนเขลา ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้
ทรัพย์ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมซบเซาดังนก
กะเรียนแก่ ซบเซาอยู่ในเปือกตมที่หมดปลาฉะนั้น.
พวกคนเขลา ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์
ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมนอนทอดถอนถึงทรัพย์
เก่า เหมือนลูกศรที่ตกจากแล่งฉะนั้น.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจริตฺวา ความว่า ไม่อยู่พรหมจริยาวาส.
บทว่า โยพฺพเน ความว่า ไม่ได้แม้ทรัพย์ในเวลาที่ตนสามารถ เพื่อจะยัง
โภคะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือเพื่อตามรักษาโภคะที่เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า
ขีณมจฺเฉ ความว่า คนเขลาเห็นปานนั้นนั่น ย่อมซบเซา ดังนกกะเรียนแก่
มีขนเปียกอันเหี้ยนเกรียน ซบเซาอยู่ในเปือกตม. ที่ชื่อว่าหมดปลาแล้ว
เพราะไม่มีน้ำ. มีคำอธิบายกล่าวไว้ดังนี้ว่า " อันความไม่มีที่อยู่ของคนเขลา
เหล่านี้ เหมือนความไม่มีน้ำในเปือกตม. ความไม่มีโภคะของคนเขลา
เหล่านี้ เหมือนความหมดปลา, ความไม่สามารถจะรวบรวมโภคะไว้ได้

โดยทางน้ำหรือทางบกเป็นต้นในกาลบัดนี้แล ของคนขลาเหล่านี้ เหมือน
ความไม่มีการโผขึ้นแล้วบินไปแห่งนกกะเรียนที่มีขนปีกอันเหี้ยน; เพราะ
ฉะนั้น คนเขลาเหล่านี้ จึงนอนซบเซาอยู่ในที่นี้เอง เหมือนนกกะเรียน
มีขนปีกอันเหี้ยนแล้วฉะนั้น.
บทว่า จาปาติขีณาว ความว่า หลุดจากแล่ง คือพ้นแล้วจาก
แล่ง. มีคำอธิบายกล่าวไว้ดังนี้ว่า " ลูกศรพ้นจากแล่งไปตามกำลัง
ตกแล้ว. เมื่อไม่มีใครจับมันยกขึ้น. มันก็ต้องเป็นอาหารของหมู่ปลวก
ในที่นั้นเอง ฉันใด; ถึงคนเขลาเหล่านี้ ก็ฉันนั้น ล่วง 3 วัยไปแล้ว ก็จัก
เข้าถึงมรณะ เพราะความไม่สามารถจะยกตนขึ้นได้ในกาลบัดนี้; เพราะ-
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสนฺติ จาปาติขีณาว. "
บาทพระคาถาว่า ปุราณานิ อนุตฺถุนํ ความว่า ย่อมนอนทอดถอน
คือเศร้าโศกถึงการกิน การดื่ม การฟ้อน การขับ และการประโคม
เป็นต้น ที่คนทำแล้วในกาลก่อนว่า " พวกเรา กินแล้วอย่างนี้, ดื่มแล้ว
อย่านี้."
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องบุตรเศรษฐีมีทรัพย์มาก จบ.
ชราวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 11 จบ

คาถาธรรมบท


อัตวรรค1ที่ 12


ว่าด้วยเรื่องตน


[22] 1. ถ้าบุคคลทราบตนว่าเป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น
ให้เป็นอันรักษาด้วยดี บัณฑิตพึงประคับประคอง(ตน)
ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง.

2. บัณฑิตพึงตั้งตนนั่นแล ในคุณอันสมควร
ก่อนพึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง จะไม่พึงเศร้าหมอง.

3. ถ้าผู้อื่นพร่ำสอนผู้อื่นอยู่ฉันใด พึงทำตาม
ฉันนั้น บุคคลผู้มีตนฝึกดีแล้วหนอ (จึง) ควรฝึก
(ผู้อื่น) เพราะว่าได้ยินว่า ตนฝึกฝนได้โดยยาก
.
4. ตนแลเป็นที่พึ่งของตน บุคคลอื่นใครเล่าพึง
เป็นที่พึ่งได้ เพราะบุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้
ที่พึ่งที่บุคคลได้โดยยาก.

5. บาปอันตนทำไว้เอง เกิดในตน มีตนเป็น
แดนเกิด ย่อมย่ำยีบุคคลผู้มีปัญญาทราม ดุจเพชร
ย่ำยีแก้วมณี อันเกิดแต่หินฉะนั้น.

6. ความเป็นผู้ทุศีลล่วงส่วน รวบรัด (อัตภาพ)
ของบุคคลใด ดุจเถาย่านทราย รัดรึงต้นสาละฉะนั้น
บุคคลนั้น ย่อมทำตนอย่างเดียวกันกับที่โจรหัวโจก
ปรารถนาทำให้ตนฉะนั้น.

1. วรรคนี้มีอรรถกถา 10 เรื่อง.