เมนู

" เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบ
จึงได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร มีชาติเป็นอเนก ความเกิด
บ่อยๆ เป็นทุกข์,1 แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่าน
แล้ว, ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้, ซี่โครงทุกซี่2ของท่าน
เราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว, จิตของ
เราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว, เพราะเรา
บรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า คหการํ3 คเวสวนฺโต ความว่า เรา
เมื่อแสวงหานายช่างคือตัณหาผู้ทำเรือน กล่าวคืออัตภาพนี้มีอภินิหารอัน
ทำไว้แล้ว แทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร เพื่อ
ประโยชน์แก่พระญาณ อันเป็นเครื่องอาจเห็นนายช่างนั้นได้ คือพระ-
โพธิญาณ เมื่อไม่ประสบ ไม่พบ คือไม่ได้พระญาณนั้นแล จึงท่องเที่ยว
คือเร่ร่อน ได้แก่วนเวียนไป ๆ มา ๆ สู่สงสารมีชาติเป็นอเนก คือสู่
สังสารวัฏนี้ อันนับได้หลายแสนชาติ สิ้นกาลมีประมาณเท่านี้.
คำว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปนํ นี้ เป็นคำแสดงเหตุแห่งการแสวงหา
ช่างผู้ทำเรือน. เพราะชื่อว่าชาตินี้ คือการเข้าถึงบ่อย ๆ ชื่อว่าเป็นทุกข์
เพราะภาวะที่เจือด้วยชรา พยาธิและมรณะ. ก็ชาตินั้น เมื่อนายช่างผู้ทำ
เรือนนั้น อันใครๆ ไม่พบแล้ว ย่อมไม่กลับ. ฉะนั้น เราเมื่อแสวงหา
นายช่างผู้ทำเรือน จึงได้ท่องเที่ยวไป.
1. ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป. 2. อีกนัยหนึ่ง ผาสุกกา เป็นคำเปรียบกับเครื่องเรือน แปลว่า
จันทันเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว. 3. บาลีเป็น คหการกํ.

บทว่า ทิฏฺโฐสิ ความว่า บัดนี้เราตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ พบ
ท่านแล้วแน่นอน. บทว่า ปุน เคหํ ความว่า ท่านจักทำเรือนของเรา
กล่าวคืออัตภาพ ในสังสารวัฏนี้อีกไม่ได้.
บาทพระคาถาว่า สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคาความว่า ซี่โครง1กล่าว
คือกิเลสที่เหลือทั้งหมดของท่าน เราหักเสียแล้ว.
บาทพระคาถาว่า คหกูฏํ วิสงฺขตํ ความว่า ถึงมณฑลช่อฟ้ากล่าว
คืออวิชชา แห่งเรือนคืออัตภาพที่ท่านสร้างแล้วนี้ เราก็รื้อเสียแล้ว.
บาทพระคาถาว่า วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ความว่า บัดนี้ จิตของเราถึง
คือเข้าไปถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว คือพระนิพพาน ด้วย
สามารถแห่งอันกระทำให้เป็นอารมณ์.
บาทพระคาถาว่า ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ความว่า เราบรรลุ
พระอรหัต กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว.
เรื่องปฐมโพธิกาล จบ.
1. หรือ จันทันเรือน กล่าวคือกิเลสที่เหลือทั้งหมด.

9. เรื่องบุตรเศรษฐีมีทรัพย์มาก [126]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงปรารภ
บุตรเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อจริตฺวา
พฺรหฺมจริยํ. "
เป็นต้น.

พวกนักเลงชวนเศรษฐีบุตรให้ดื่มเหล้า


ดังได้สดับมา บุตรเศรษฐีนั้น เกิดแล้วในตระกูลผู้มีสมบัติ 80 โกฏิ
ในกรุงพาราณสี. ครั้งนั้น มารดาบิดาของเขาคิดว่า " ในตระกูลของเรา
มีกองโภคะเป็นอันมาก. เราจักมอบกองโภคะนั้นไว้ในมือบุตรของเรา
ทำให้ใช้สอยอย่างสบาย. กิจด้วยการงานอย่างอื่นไม่ต้องมี. " ดังนี้แล้วจึง
ให้เขาศึกษาศิลปะสักว่าการฟ้อน ขับ และประโคมอย่างเดียว. ในพระนคร
นั้นแล แม้ธิดาคนหนึ่ง ก็เกิดแล้วในตระกูลอื่น ซึ่งมีสมบัติ 80 โกฏิ.
บิดามารดาแม้ของนางก็คิดแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วก็ให้นางศึกษาก็ได้
ศิลปะสักว่าการฟ้อนขับและประโคมอย่างเดียว. เมื่อเขาทั้งสองเจริญวัยแล้ว
ก็ได้มีการอาวาหวิวาหมงคลกัน ต่อมาภายหลัง มารดาบิดาของคนทั้งสอง
นั้นได้ถึงแก่กรรมแล้ว. ทรัพย์ 160 โกฏิ ก็ได้รวมอยู่ในเรือนเดียวกัน
ทั้งหมด. เศรษฐีบุตร ย่อมไปสู่ที่บำรุงพระราชาวันหนึ่งถึง 3 ครั้ง ครั้งนั้น
พวกนักเลงในพระนครนั้น คิดกันว่า " ถ้าเศรษฐีบุตรนี้ จักเป็นนักเลง
สุรา. ความผาสุกก็จักมีแก่พวกเรา; เราจะให้เธอเรียนความเป็นนักเลง
สุรา. " พวกนักเลงนั้นจึงถือเอาสุรา มัดเนื้อสำหรับแกล้ม และก้อนเกลือ
ไว้ที่ชายผ้า ถือหัวผักกาด นั่งแลดูทางของเศรษฐีบุตรนั้น ผู้มาจาก