เมนู

8. เรื่องปฐมโพธิกาล [125]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาประทับนั่ง ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ทรงเปล่งอุทานด้วย
สามารถเบิกบานพระหฤทัย ในสมัยอื่น พระอานนทเถระทูลถาม จึงตรัส
พระธรรมเทศนานี้ว่า " อเนกชาติสํสารํ " เป็นต้น.

ทรงกำจัดมารแล้วเปล่งอุทาน


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล ประทับนั่ง ณ ควงไม้โพธิ-
พฤกษ์ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคตเทียว ทรงกำจัดมารและพลแห่งมาร
แล้ว ในปฐมยาม ทรงทำลายความมืดที่ปกปิดปุพเพนิวาสญาณ. ใน
มัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว. ในปัจฉิมยาม ทรงอาศัย
ความกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงหยั่งพระญาณลงในปัจจยาการแล้ว ทรง
พิจารณาปัจจยาการนั้น ด้วยสามารถแห่งอนุโลมปฏิโลม. ในเวลาอรุณขึ้น
ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณพร้อมด้วยอัศจรรย์หลายอย่าง เมื่อจะ
ทรงเปล่งอุทาน ที่พระพุทธเจ้ามิใช่แสนเดียวไม่ทรงละแล้ว จึงได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า
8. อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
คหการกํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
.

" เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบ
จึงได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร มีชาติเป็นอเนก ความเกิด
บ่อยๆ เป็นทุกข์,1 แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่าน
แล้ว, ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้, ซี่โครงทุกซี่2ของท่าน
เราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว, จิตของ
เราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว, เพราะเรา
บรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า คหการํ3 คเวสวนฺโต ความว่า เรา
เมื่อแสวงหานายช่างคือตัณหาผู้ทำเรือน กล่าวคืออัตภาพนี้มีอภินิหารอัน
ทำไว้แล้ว แทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร เพื่อ
ประโยชน์แก่พระญาณ อันเป็นเครื่องอาจเห็นนายช่างนั้นได้ คือพระ-
โพธิญาณ เมื่อไม่ประสบ ไม่พบ คือไม่ได้พระญาณนั้นแล จึงท่องเที่ยว
คือเร่ร่อน ได้แก่วนเวียนไป ๆ มา ๆ สู่สงสารมีชาติเป็นอเนก คือสู่
สังสารวัฏนี้ อันนับได้หลายแสนชาติ สิ้นกาลมีประมาณเท่านี้.
คำว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปนํ นี้ เป็นคำแสดงเหตุแห่งการแสวงหา
ช่างผู้ทำเรือน. เพราะชื่อว่าชาตินี้ คือการเข้าถึงบ่อย ๆ ชื่อว่าเป็นทุกข์
เพราะภาวะที่เจือด้วยชรา พยาธิและมรณะ. ก็ชาตินั้น เมื่อนายช่างผู้ทำ
เรือนนั้น อันใครๆ ไม่พบแล้ว ย่อมไม่กลับ. ฉะนั้น เราเมื่อแสวงหา
นายช่างผู้ทำเรือน จึงได้ท่องเที่ยวไป.
1. ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป. 2. อีกนัยหนึ่ง ผาสุกกา เป็นคำเปรียบกับเครื่องเรือน แปลว่า
จันทันเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว. 3. บาลีเป็น คหการกํ.