เมนู

" คนมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก,
เนื้อของเขาย่อมเจริญ แต่ปัญญาของเขาหาเจริญไม่. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น เนื้อความแห่งบทว่า อปฺปสฺสุตายํ ว่าคนชื่อ
ว่า อัปปัสสุตะ เพราะไม่มีหมวดสูตร ห้าสิบ 1 หมวด หรือ 2 หมวด
ก็หรือว่า เพราะไม่มีวรรคสูตร 1 วรรค หรือ 2 วรรค โดยกำหนดที่สุด
ทั้งหมด เพราะไม่มีแม้สูตร 1 หรือ 2 สูตร. แต่ได้เรียนกรรมฐาน
เล็กน้อยประกอบความเพียรเนือง ๆ อยู่ ก็เป็นพหุสูตได้ทีเดียว.
สองบทว่า พลิพฺทโทว ชีรติ ความว่า เหมือนโคถึกเมื่อแก่
คือเมื่อเฒ่า ย่อมโตขึ้นเพื่อประโยชน์แก่โคแม่พ่อหามิได้เลย แก่โคที่เป็น
พี่น้องที่เหลือก็หามิได้. โดยที่แท้ก็แก่ไม่มีประโยชน์เลย ฉันใด, แม้
อัปปัสสุตชนนี้ไม่ทำอุปัชฌายวัตร, ไม่ทำอาจริยวัตร. และไม่ทำวัตรอื่น
มีอาคันตุกวัตรเป็นต้น. ไม่หมั่นประกอบแม้สักว่าภาวนา. ชื่อว่า ย่อมแก่
ไม่มีประโยชน์เลย ฉันนั้นนั่นแหละ.
บาทพระคาถาว่า มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ มีอธิบายว่า เนื้อของโคถึก
ที่เจ้าของคิดว่า " อ้ายนี่ไม่อาจจะลากแอกไถเป็นต้นไหวแล้ว " ปล่อย
เสียในป่า เที่ยวเคี้ยวกินดื่มอยู่ในป่านั้นแหละ ย่อมเจริญ ฉันใด. เนื้อแม้
ของอัปปัสสุตชนนี้ อันพระครุฏฐานิยะมีพระอุปัชฌาย์เป็นต้น ปล่อยเสีย
แล้ว อาศัยสงฆ์ได้ปัจจัย 4 ทำกิจมีระบายท้องเป็นต้น เลี้ยงกายอยู่
ย่อมเจริญ คือว่าเธอเป็นผู้มีร่างกายอ้วนพีเที่ยวไป ฉันนั้น นั่นแหละ.
สองบทว่า ปญฺญา ตสฺส มีเนื้อความว่า ส่วนปัญญที่เป็นโลกิยะ
โลกุตระของอัปปัสสุตชนนั้น แม้ประมาณองคุลีเดียวก็ไม่เจริญ แต่

ตัณหาและมานะ 9 อย่าง ย่อมเจริญเพราะอาศัยทวาร 6 เหมือนกอหญ้า
ลดาวัลย์เป็นต้น เจริญอยู่ในป่าฉะนั้น.
ในเวลาจบเทศนา มหาชนบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผล
เป็นต้นแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพระโลฬุทายีเถระ จบ.

8. เรื่องปฐมโพธิกาล [125]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาประทับนั่ง ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ทรงเปล่งอุทานด้วย
สามารถเบิกบานพระหฤทัย ในสมัยอื่น พระอานนทเถระทูลถาม จึงตรัส
พระธรรมเทศนานี้ว่า " อเนกชาติสํสารํ " เป็นต้น.

ทรงกำจัดมารแล้วเปล่งอุทาน


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล ประทับนั่ง ณ ควงไม้โพธิ-
พฤกษ์ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคตเทียว ทรงกำจัดมารและพลแห่งมาร
แล้ว ในปฐมยาม ทรงทำลายความมืดที่ปกปิดปุพเพนิวาสญาณ. ใน
มัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว. ในปัจฉิมยาม ทรงอาศัย
ความกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงหยั่งพระญาณลงในปัจจยาการแล้ว ทรง
พิจารณาปัจจยาการนั้น ด้วยสามารถแห่งอนุโลมปฏิโลม. ในเวลาอรุณขึ้น
ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณพร้อมด้วยอัศจรรย์หลายอย่าง เมื่อจะ
ทรงเปล่งอุทาน ที่พระพุทธเจ้ามิใช่แสนเดียวไม่ทรงละแล้ว จึงได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า
8. อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
คหการกํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
.