เมนู

โสมทัตได้รับพระราชทาน


แม้เมื่อในหลวงตรัสว่า " ตา แกว่าอะไรนะ ? จงว่าไปอีก. "
พราหมณ์นั้น ก็คงกล่าวคาถาบทนั้นเอง. ในหลวงทรงทราบความที่คาถา
นั้นพราหมณ์กล่าวผิด ทรงแย้มสรวลแล้วตรัสว่า " โสมทัต โคในบ้าน
ของเจ้าเห็นจะมากนะ. " เมื่อโสมทัตกราบทูลว่า " ขอเดชะฝ่าละอองธุลี
พระบาทผู้สมมติเทวราช โคอันใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระกรุณา
โคพระราชทานแล้วจักมีมาก " ดังนี้แล้ว ทรงโปรดปรานโสมทัต-
ผู้โพธิสัตว์ จึงพระราชทานโค 16 ตัวแก่พราหมณ์ สิ่งของเครื่องอลังการ
และบ้านที่อยู่แก่โพธิสัตว์นั้นให้เป็นพรหมไทยแล้ว จึงทรงส่งพราหมณ์
ไปด้วยยศใหญ่.

ผู้มีสุตะน้อยเหมือนโคถึก


พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ประชุมชาดก1ว่า
" พระเจ้าแผ่นดินในครั้งกระนั้น เป็นอานนท์. ตาพราหมณ์ในครั้งกระนั้น
เป็นโลฬุทายี. มหาดเล็กโสมทัตในครั้งกระนั้น เป็นเราตถาคตนี่แหละ "
จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย โลฬุทายีนี้ เมื่อคำอื่นอันคนควรพูด ก็ไพล่
พูดคำอื่นไปเสีย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน เธอก็พูดแล้ว
เพราะความที่ตนเป็นคนมีธรรมได้สดับน้อย. เพราะว่า คนมีสุตะน้อย
ชื่อว่าเป็นเหมือนโคถึก จึงตรัสพระคาถาว่า
7. อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิพทฺโทว ชีรติ
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ.

1. อรรถกถา. 3/219.

" คนมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก,
เนื้อของเขาย่อมเจริญ แต่ปัญญาของเขาหาเจริญไม่. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น เนื้อความแห่งบทว่า อปฺปสฺสุตายํ ว่าคนชื่อ
ว่า อัปปัสสุตะ เพราะไม่มีหมวดสูตร ห้าสิบ 1 หมวด หรือ 2 หมวด
ก็หรือว่า เพราะไม่มีวรรคสูตร 1 วรรค หรือ 2 วรรค โดยกำหนดที่สุด
ทั้งหมด เพราะไม่มีแม้สูตร 1 หรือ 2 สูตร. แต่ได้เรียนกรรมฐาน
เล็กน้อยประกอบความเพียรเนือง ๆ อยู่ ก็เป็นพหุสูตได้ทีเดียว.
สองบทว่า พลิพฺทโทว ชีรติ ความว่า เหมือนโคถึกเมื่อแก่
คือเมื่อเฒ่า ย่อมโตขึ้นเพื่อประโยชน์แก่โคแม่พ่อหามิได้เลย แก่โคที่เป็น
พี่น้องที่เหลือก็หามิได้. โดยที่แท้ก็แก่ไม่มีประโยชน์เลย ฉันใด, แม้
อัปปัสสุตชนนี้ไม่ทำอุปัชฌายวัตร, ไม่ทำอาจริยวัตร. และไม่ทำวัตรอื่น
มีอาคันตุกวัตรเป็นต้น. ไม่หมั่นประกอบแม้สักว่าภาวนา. ชื่อว่า ย่อมแก่
ไม่มีประโยชน์เลย ฉันนั้นนั่นแหละ.
บาทพระคาถาว่า มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ มีอธิบายว่า เนื้อของโคถึก
ที่เจ้าของคิดว่า " อ้ายนี่ไม่อาจจะลากแอกไถเป็นต้นไหวแล้ว " ปล่อย
เสียในป่า เที่ยวเคี้ยวกินดื่มอยู่ในป่านั้นแหละ ย่อมเจริญ ฉันใด. เนื้อแม้
ของอัปปัสสุตชนนี้ อันพระครุฏฐานิยะมีพระอุปัชฌาย์เป็นต้น ปล่อยเสีย
แล้ว อาศัยสงฆ์ได้ปัจจัย 4 ทำกิจมีระบายท้องเป็นต้น เลี้ยงกายอยู่
ย่อมเจริญ คือว่าเธอเป็นผู้มีร่างกายอ้วนพีเที่ยวไป ฉันนั้น นั่นแหละ.
สองบทว่า ปญฺญา ตสฺส มีเนื้อความว่า ส่วนปัญญที่เป็นโลกิยะ
โลกุตระของอัปปัสสุตชนนั้น แม้ประมาณองคุลีเดียวก็ไม่เจริญ แต่