เมนู

ใคร ? มหาบพิตร. " พระราชาทรงประดิษฐานอัญชลีไว้เหนือพระเศียร
แล้ว ทูลว่า " ของพระเจ้าปู่ของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า. "
พระศาสดา. นี้ ของใคร.
พระราชา. ของพระชนกของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า.
เมื่อพระราชากราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาจึงตรัสว่า " มหา-
บพิตร รถของพระเจ้าปู่ ของมหาบพิตร เพราะเหตุไร จึงไม่ถึงรถของ
พระชนก ของมหาบพิตร. รถของพระชนก ของมหาบพิต ไม่ถึงรถ
ของมหาบพิตร. ความคร่ำคร่าย่อมมาถึง แม้แก่ท่อนไม้ชื่อเห็นปานนี้.
ก็จะกล่าวไปไย ความคร่ำคร่าจักไม่มาถึงแม้แก่อัตภาพเล่า ? มหาบพิตร
ความจริง ธรรมของสัตบุรุษเท่านั้นไม่มีความชรา. ส่วนสัตว์ทั้งหลาย
ชื่อว่าไม่ชรา ย่อมไม่มี " ดังนี้ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า
6. ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา
อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ
สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ.
" ราชรถ ที่วิจิตรดี ยังคร่ำคร่าได้แล, อนึ่งถึง
สรีระ ก็ย่อมถึงความคร่ำคร่า, ธรรมของสัตบุรุษ
หาเข้าถึงความคร่ำคร่าไม่, สัตบุรุษทั้งหลายแล ย่อม
ปราศรัยกับด้วยสัตบุรุษ."

แก้อรรถ


ศัพท์ว่า เว ในพระคาถานั้น เป็นนิบาต. บทว่า สุจิตฺตา ความว่า

รถทั้งหลาย แม้ของพระราชาทั้งหลาย อันวิจิตรดีแล้วด้วยรัตนะ 7 และ
ด้วยเครื่องประดับรถอย่างอื่น ย่อมคร่ำคร่าได้.
บทว่า สรีรมฺปิ ความว่า มิใช่รถอย่างเดียวเท่านั้น. ถึงสรีระที่
ประคบประหงมกันอย่างดีนี้ ก็ย่อมถึงความชำรุดมีความเป็นผู้มีฟันหัก
เป็นต้น ชื่อว่าเข้าถึงความคร่ำคร่า.
บทว่า สตญฺจ ความว่า แต่โลกุตรธรรมมีอย่าง 9 ของสัตบุรุษ
ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมไม่ทำการกระทบกระทั่งอะไร ๆ เลย
ชื่อว่าไม่เข้าถึงความทรุดโทรม.
บทว่า ปเวทยนฺติ ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ย่อมปราศรัยกับด้วยสัตบุรุษ คือด้วยบัณฑิตทั้งหลายอย่างนี้.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระนางมัลลิกาเทวี จบ.

7. เรื่องพระโลฬุทายีเถระ [124]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพพระโลฬุทายี-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส " เป็นต้น.

พระเถระกล่าวธรรมไม่เหมาะแก่งาน


ดังได้สดับมา พระโลฬุทายีเถระนั้น ไปสู่เรือนของหมู่คนผู้ทำการ
มงคล ก็กล่าวอวมงคล โดยนัยเป็นต้นว่า " ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺฐนฺติ " ไป
เรือนของผู้ทำการอวมงคล เมื่อควรกล่าว ติโรกุฑฑสูตรเป็นต้น. ก็กล่าว
มงคลคาถา โดยนัยเป็นต้นว่า " ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ " หรือรัตนสูตร
เป็นต้นว่า " ยงฺกิญฺจิ วิตฺตํ อิธ วา หุรํ วา. " เธอคิดว่า " เราจักสวดสูตร
อื่น " แม้สวดสูตรอื่นอยู่ในที่นั้นๆ อย่างนั้นก็ไม่รู้ว่า " เราสวดสูตรอื่น. "

ถึงกาลก่อนก็เลอะเหมือนกัน


ภิกษุทั้งหลายฟังกถาของท่านแล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า
" พระเจ้าข้า เป็นอย่างไร พระโลฬุทายี ในที่ทำการมงคลและอวมงคล
ควรกล่าวสูตรอื่น ก็ไพล่ไปกล่าวสูตรอื่น ? " พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย โลฬุทายีนั่น กล่าวอย่างนั้น ในกาลบัดนี้เท่านั้น ก็หาไม่.
ถึงในกาลก่อน โลฬุทายี เมื่อสูตรอื่นอันตนควรกล่าว ก็ไพล่กล่าวสูตร
อื่น " อันภิกษุเหล่านั้น ทูลอ้อนวอน จึงทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส
ดังต่อไปนี้):-

บุรพกรรมของพระโลฬุทายี


ในอดีตกาล บุตรของพราหมณ์ ชื่ออัคคิทัต ในกรุงพาราณสี