เมนู

อะไร ? " ดังนี้แล้วก็จะรับสั่งให้เลิกนิตยภัตที่เป็นไปในพระราชนิเวศน์
เพื่อภิกษุ 500 รูปแล้วพึงเกิดในนรก; เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงทรง
ทำความที่พระราชานั้น ทรงระลึกไม่ได้ตลอด 7 วัน ในวันที่ 8 ทรง
ดำเนินไปเพื่อบิณฑบาต ได้เสด็จไปยังประตูพระราชวังด้วยพระองค์เอง
ทีเดียว. พระราชาทรงทราบว่า " พระศาสดาเสด็จมาแล้ว " จึงเสด็จ
ออก ทรงรับบาตรแล้ว ปรารภเพื่อจะเสด็จขึ้นสู่ปราสาท. แต่พระศาสดา
ทรงแสดงพระอาการเพื่อจะประทับนั่งที่โรงรถ. พระราชาจึงทูลอัญเชิญ
พระศาสดาให้ประทับนั่ง ณ ที่นั้นเหมือนกัน ทรงรับรองด้วยข้าวยาคูและ
ของควรเคี้ยวแล้ว จึงถวายบังคม พอประทับนั่ง ก็กราบทูลว่า " หม่อม
ฉันมาก็ด้วยประสงค์ว่า 'จักทูลถามที่เกิดของพระนางมัลลิกาเทวี. แล้ว
ลืมเสีย พระนางเกิดในที่ไหนหนอแล ? พระเจ้าข้า. "
พระศาสดา. ในดุสิตภพ มหาบพิตร.
พระราชา. พระเจ้าข้า เมื่อพระนางไม่บังเกิดในดุสิตภพ. คนอื่น
ใครเล่าจะบังเกิด. พระเจ้าข้า หญิงเช่นกันพระนางมัลลิกานั้นไม่มี. เพราะ
ในที่ ๆ พระนางนั่งเป็นต้น กิจอื่น เว้นการจัดแจงทาน ด้วยคิดว่า
" พรุ่งนี้ จักถวายสิ่งนี้, จักทำสิ่งนี้, แด่พระตถาคต " ดังนี้ไม่มีเลย,
พระเจ้าข้า ตั้งแต่เวลาพระนางไปสู่ปรโลกแล้ว สรีระของหม่อมฉัน ไม่
ค่อยกระปรี้กระเปร่า.

ธรรมของสัตบุรุษไม่เก่าเหมือนของอื่น


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " อย่าคิดเลยมหาบพิตร
นี้เป็นธรรมอันแน่นอนของสัตว์ทุกจำพวก " ตรัสถามว่า " นี้รถของ

ใคร ? มหาบพิตร. " พระราชาทรงประดิษฐานอัญชลีไว้เหนือพระเศียร
แล้ว ทูลว่า " ของพระเจ้าปู่ของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า. "
พระศาสดา. นี้ ของใคร.
พระราชา. ของพระชนกของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า.
เมื่อพระราชากราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาจึงตรัสว่า " มหา-
บพิตร รถของพระเจ้าปู่ ของมหาบพิตร เพราะเหตุไร จึงไม่ถึงรถของ
พระชนก ของมหาบพิตร. รถของพระชนก ของมหาบพิต ไม่ถึงรถ
ของมหาบพิตร. ความคร่ำคร่าย่อมมาถึง แม้แก่ท่อนไม้ชื่อเห็นปานนี้.
ก็จะกล่าวไปไย ความคร่ำคร่าจักไม่มาถึงแม้แก่อัตภาพเล่า ? มหาบพิตร
ความจริง ธรรมของสัตบุรุษเท่านั้นไม่มีความชรา. ส่วนสัตว์ทั้งหลาย
ชื่อว่าไม่ชรา ย่อมไม่มี " ดังนี้ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า
6. ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา
อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ
สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ.
" ราชรถ ที่วิจิตรดี ยังคร่ำคร่าได้แล, อนึ่งถึง
สรีระ ก็ย่อมถึงความคร่ำคร่า, ธรรมของสัตบุรุษ
หาเข้าถึงความคร่ำคร่าไม่, สัตบุรุษทั้งหลายแล ย่อม
ปราศรัยกับด้วยสัตบุรุษ."

แก้อรรถ


ศัพท์ว่า เว ในพระคาถานั้น เป็นนิบาต. บทว่า สุจิตฺตา ความว่า