เมนู

ไฟเผาลนแล้ว และดุจซากศพอันเขาผูกไว้ที่พระศอ จิตมุ่งตรงต่อกรรมฐาน
แล้ว. พระศาสดาทรงทราบว่า พระนางทรงคิดเห็นอัตภาพโดยความเป็น
สภาพไม่เที่ยงแล้ว จึงทรงพิจารณาดูว่า " พระนางจักสามารถทำที่พึ่งแก่
ตนได้เองทีเดียวหรือไม่หนอแล ? " ทรงเห็นว่า " จักไม่อาจ. การที่
พระนางได้ปัจจัยภายนอก (เสียก่อน) จึงจะเหมาะ " ดังนี้แล้ว เมื่อจะ
ทรงแสดงธรรม ด้วยอำนาจธรรมเป็นที่สบายแห่งพระนาง ได้ตรัสพระ-
คาถาเหล่านี้ว่า
" นันทา เธอจงดูกายอันกรรมยกขึ้น อันอาดูร
ไม่สะอาด เปื่อยเน่า ไหลออกอยู่ข้างบน ไหลออก
อยู่ข้างล่าง ที่พาลชนทั้งหลายปรารถนากันนัก; สรีระ
ของเธอนี้ ฉันใด, สรีระของหญิงนั่น ก็ฉันนั้น,
สรีระของหญิงนั่น ฉันใด สรีระของเธอนี้ ก็ฉันนั้น:
เธอจงเห็นธาตุ ทั้งหลายโดยความเป็นของสูญ, อย่า
กลับมาสู่โลกนี้อีก, เธอคลี่คลายความพอใจในภพ
เสียแล้ว จักเป็นบุคคลผู้สงบเที่ยวไป.

พระนางนันทาสำเร็จโสดาปัตติผล


ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภพระนางนันทาภิกษุณี
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล. พระนางนันทา ทรงส่ง
ญาณไปตามกระแสเทศนา บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว.

พระศาสดาทรงแสดงวิปัสสนา


ลำดับนั้น พระศาสดาเพื่อจะตรัสสุญญตกรรมฐาน เพื่อต้องการ

อบรมวิปัสสนาเพื่อมรรคผลทั้งสามยิ่งขึ้นไปแก่พระนาง จึงตรัสว่า "นันทา
เธออย่าทำความเข้าใจว่า ' สาระในสรีระนี้ มีอยู่' เพราะสาระในสรีระนี้
แม้เพียงเล็กน้อย ก็ไม่มี, สรีระนี้ อันกรรมยกกระดูก 300 ท่อนขึ้น
สร้างให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย " ดังนี้ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า
5. อฏฺฐินํ นครํ กตํ มํสโลหิตเลปนํ
ยตฺถ ชรา จ มจฺจุ จ มาโน มกฺโข จ โอหิโต.
"สรีระอันกรรมทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย
ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา มรณะ
มานะ และมักขะ"

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า " เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายให้
ยกไม้ทั้งหลายขึ้น (เป็นโครง) เอาเถาวัลย์ผูกแล้ว ฉาบด้วยดินเหนียว
ทำให้เป็นเรือนภายนอกกล่าวคือนคร เพื่อประโยชน์แก่การตั้งปุพพัณชาติ
และอปรัณชาติเป็นต้นลง ฉันใด; แม้สรีระนี้ที่เป็นไปในภายใน ก็ฉัน
นั้น อันกรรมยังกระดูก 300 ท่านให้ยกขึ้นแล้วทำให้เป็นนคร อันเส้น
เอ็นรึงรัดไว้ ฉาบทาด้วยเนื้อและโลหิต หุ้มห่อด้วยหนัง เพื่อประโยชน์
แก่การตั้งลงแห่งชรา ซึ่งมีความทรุดโทรมเป็นลักษณะ แห่งมัจจุซึ่งมี
ความตายเป็นลักษณะ แห่งมานะซึ่งมีความเมา เพราะอาศัยความถึงพร้อม
ด้วยความระหง1เป็นต้นเป็นลักษณะ และแห่งมักขะมีการทำกรรมที่เขาทำ
ดีแล้วให้ฉิบหายเป็นลักษณะ. เพราะอาพาธอันเป็นไปทางกายและทางใจ
1. อาโห เป็นส่วนสูง ปริณาห เป็นส่วนกลม งามพร้อม ได้ส่วนสัด.