เมนู

อาศัยความที่พระองค์เป็นผู้เศร้าหมองด้วยปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ย่อม
เลื่อมใส.

4 . ธัมมัปปมาณิกา


แม้จำพวกธัมมัปปมาณิกา (ถือธรรมเป็นประมาณ) ก็ย่อมเลื่อมใส
ว่า " ศีลของพระทศพลเห็นปานนี้. สมาธิเห็นปานนี้. ปัญญาเห็นปานนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าหาผู้เสมอมิได้ ไม่มีผู้เสมอเท่า หาผู้เสมอเหมือนมิได้
ไม่มีผู้ทัดเทียม ด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น. " เมื่อชนเหล่านั้นพรรณนา
คุณของพระตถาคตอยู่ ปากไม่เพียงพอ.

พระนางรูปนันทาเถรีเข้าเฝ้าทรงสดับธรรม


พระนางรูปนันทา ได้สดับคำพรรณนาคุณของพระตถาคต แต่
สำนักพวกภิกษุณีและพวกอุบาสิกา จึงทรงดำริว่า " ชนทั้งหลาย ย่อม
กล่าวชมเจ้าพี่ของเรานักหนาทีเดียว แม้ในวันหนึ่ง พระองค์เมื่อจะตรัส
โทษในรูปของเรา จะตรัสได้สักเท่าไร ? ถ้ากระไร เราพึงไปกับพวก
ภิกษุณี ไม่แสดงตนเลย เฝ้าพระตถาคตฟังธรรมแล้วพึงมา. " พระนาง
จึงตรัสบอกแก่พวกภิกษุณีว่า " วันนี้ ฉันจักไปสู่ที่ฟังธรรม. " พวก
ภิกษุณีมีใจยินดีว่า " นานนักหนา การที่พระนางรูปนันทาทรงมีพระ-
ประสงค์จะเสด็จไปสู่ที่บำรุงพระศาสดาเกิดขึ้นแล้ว, วันนี้พระศาสดา ทรง
อาศัยพระนางรูปนันทานี้แล้ว จักทรงแสดงพระธรรมเทศนาอันวิจิตร "
ดังนี้แล้วพาพระนางออกไปแล้ว. ตั้งแต่เวลาที่ออกไป พระนางทรงดำริ
ว่า " เราจะไม่แสดงตนเลย. "

พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระนาง


พระศาสดาทรงดำริว่า " วันนี้ รูปนันทาจักมาที่บำรุงของเรา
ธรรมเทศนาเช่นไรหนอแล ? จักเป็นที่สบายของเธอ " ทรงทำความ
ตกลงพระหฤทัยว่า " รูปนันทานั่น หนักในรูป มีความเยื่อใยในอัตภาพ
อย่างรุนแรง การบรรเทาความเมาในรูปด้วยรูปนั่นแล เป็นที่สบายของ
เธอ ดุจการบ่งหนามด้วยหนามฉะนั้น " ในเวลาที่พระนางเข้าไปสู่วิหาร
ทรงนิรมิตหญิงมีรูปสวยพริ้งผู้หนึ่ง อายุราว 16 ปี นุ่งผ้าแดง ประดับ
แล้วด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ถือพัด ยืนถวายงานพัดอยู่ในที่ใกล้พระองค์
ด้วยกำลังพระฤทธิ์. ก็แล พระศาสดาและพระนางรูปนันทาเท่านั้น ทรง
เห็นรูปหญิงนั้น. พระนางเสด็จเข้าไปวิหารพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย ทรง
ยืนข้างหลังพวกภิกษุณี ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่ง
ในระหว่างพวกภิกษุณี ทรงแลดูพระศาสดาตั้งแต่พระบาท ทรงเห็น
พระสรีระของพระศาสดาวิจิตรแล้วด้วยพระลักษณะ รุ่งเรืองด้วยอนุพยัญ-
ชนะ. อันพระรัศมีวาหนึ่งแวดล้อมแล้ว ทรงแลดูพระพักตร์อันมีสิริดุจ
พระจันทร์เพ็ญ ได้ทรงเห็นรูปหญิงยืนอยู่ในที่ใกล้แล้ว. พระนางทรง
แลดูหญิงนั้นแล้ว ทรงแลดูอัตภาพ (ของตน) รู้สึกว่าตนเหมือนนางกา
(ซึ่งอยู่) ข้างหน้านางพระยาหงส์ทอง. ก็จำเดิมแต่เวลาที่ (พระนาง) ทรง
เห็นรูปอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ทีเดียว พระเนตรทั้งสองของพระนางก็วิง-
เวียน. พระนางมีจิตอันสิริโฉมแห่งสรีรประเทศทั้งหมดดึงดูดไปแล้วว่า
" โอผมของหญิงนี้ก็งาม. โอหน้าผากก็งาม " ดังนี้ ได้มีสิเนหาในรูปนั้น
อย่างรุนแรง. พระศาสดาทรงทราบความยินดีอย่างสุดซึ้งในรูปนั้นของ
พระนาง พอเมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงทรงแสดงรูปนั้นให้ล่วงภาวะของ