เมนู

4. เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี [98]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเศรษฐีชื่อ
อนาถบิณฑิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปาโปปิ ปสฺสตี ภทฺรํ "
เป็นต้น.

ท่านเศรษฐีบำรุงภิกษุสามเณรเป็นนิตย์


ความพิสดารว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี จ่ายทรัพย์ตั้ง 54 โกฎิ ใน
พระพุทธศาสนาเฉพาะวิหารเท่านั้น. เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระ-
เชตวัน ไปสู่ที่บำรุงใหญ่ 3 แห่งทุกวัน, ก็เมื่อจะไป คิดว่า " สามเณร
ก็ดี ภิกษุหนุ่มก็ดี พึงแลดูแม้มือของเรา ด้วยการนึกว่า เศรษฐีนั้นถือ
อะไรมาบ้าง ดังนี้ ไม่เคยเป็นผู้ชื่อว่ามีมือเปล่าไปเลย, เมื่อไปเวลาเช้า
ให้คนถือข้าวต้มไป บริโภคอาหารเช้าแล้วให้คนถือเภสัชทั้งหลาย มีเนยใส
เนยข้นเป็นต้นไป. ในเวลาเย็น ให้ถือวัตถุต่างๆ มีระเบียบดอกไม้ ของ
หอม เครื่องลูบไล้และผ้าเป็นต้น ไปสู่วิหาร. ถวายทาน รักษาศีล อย่างนั้น
ทุก ๆ วัน ตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว.

การหมดสิ้นแห่งทรัพย์ของเศรษฐี


ในกาลต่อมา เศรษฐี ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งทรัพย์. ทั้งพวกพาณิช
ก็กู้หนี้เป็นทรัพย์ 18 โกฏิจากมือเศรษฐีนั้น. เงิน 18 โกฏิแม้เป็นสมบัติ
แห่งตระกูลของเศรษฐี ที่ฝังตั้งไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เมื่อฝั่งพังลงเพราะน้ำ
(เซาะ) ก็จมลงยังมหาสมุทร. ทรัพย์ของเศรษฐีนั้นได้ถึงความหมดสิ้น
ไปโดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้.

เศรษฐีถวายทานตามมีตามได้


เศรษฐีแม้เป็นผู้อย่างนั้นแล้ว ก็ยังถวายทานแก่สงฆ์เรื่อยไป. แต่
ไม่อาจถวายทำให้ประณีตได้. ในวันหนึ่ง เศรษฐี เมื่อพระศาสดารับสั่งว่า
" คฤหบดี ก็ทานในตระกูล ท่านยังให้อยู่หรือ ? " กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า
ทานในตระกูล ข้าพระองค์ยังให้อยู่. ก็แลทานนั้น (ใช้) ข้าวปลายเกรียน
มีน้ำส้มพะอูมเป็นที่ 2."

เมื่อมีจิตผ่องใสทานที่ถวายไม่เป็นของเลว


ทีนั้น พระศาสดา ตรัสกะเศรษฐีว่า " คฤหบดี ท่านอย่าคิดว่า ' เรา
ถวายทานเศร้าหมอง. ' ด้วยว่าเมื่อจิตประณีตแล้ว, ทานที่บุคคลถวายแด่
พระอรหันต์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่าเศร้าหมองย่อมไม่มี.
คฤหบดี อีกประการหนึ่ง ท่านได้ถวายทานแด่พระอริยบุคคลทั้ง 8แล้ว;
ส่วนเราในกาลเป็นเวลาพราหมณ์นั้น กระทำชาวชมพูททวีปทั้งสิ้น ให้พัก
ไถนา ยังมหาทานให้เป็นไปอยู่ ไม่ได้ทักขิไณยบุคคลไรๆ แม้ผู้ถึงซึ่ง
ไตรสรณะ. ชื่อว่าทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ยากที่บุคคลจะได้ด้วยประการ
ฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านอย่าคิดเลยว่า 'ทานของเราเศร้าหมอง' ดังนี้
แล้ว ได้ตรัสเวลามสูตร1 แก่เศรษฐีนั้น.

เทวดาเตือนเศรษฐีให้เลิกการบริจาค


ครั้งนั้น เทวดาซึ่งสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูของเศรษฐี เมื่อพระศาสดา
และสาวกทั้งหลายเข้าไปสู่เรือน. ไม่อาจจะดำรงอยู่ได้เพราะเดชแห่งพระ-
ศาสดาและพระสาวกเหล่านั้น คิดว่า " พระศาสดาและพระสาวกเหล่านี้จะ
1. อัง. นวก. 23/406