เมนู

5. เรื่องพระนางรูปนันทาเถรี [122]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระนาง
รูปนันทาเถรี ซึ่งเป็นนางงามในชนบท ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
" อฏฺฐินํ นครํ กตํ " เป็นต้น.

พระนางรูปนันทาทรงผนวช


ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระนางรูปนันทานั้น ทรงดำริว่า " เจ้าพี่ใหญ่
ของเราสละสิริราชสมบัติ (ออก) ผนวช เป็นพระพุทธเจ้าผู้อัครบุคคลใน
โลก. แม้โอรสของพระองค์ทรงนามว่าราหุลกุมาร ก็ผนวชแล้ว. แม้
เจ้าพี่ของเรา (คือพระนันทะ) ก็ผนวชแล้ว. แม้พระมารดาของเรา ก็
ทรงผนวชแล้ว. เมื่อคณะพระญาติมีประมาณเท่านี้ ทรงผนวชแล้ว. แม้
เราจักทำอะไรในเรือน. จักผนวช (บ้าง). " พระนางเสด็จเข้าไปสู่สำนัก
ภิกษุณีทั้งหลายแล้วทรงผนวชพระนางทรงผนวชเพราะสิเนหาในพระญาติ
เท่านั้น หาใช่เพราะศรัทธาไม่; แต่เพราะพระนางเป็นผู้มีพระโฉมอัน
วิไล จึงปรากฏพระนามว่า " รูปนันทา."

นางไม่เข้าเฝ้าศาสดาเพราะเกรงถูกตำหนิ


พระนางได้ทรงสดับว่า " ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสว่า ' รูปไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ' จึงไม่เสด็จไปเผชิญพระพักตร์พระศาสดา ด้วย
ทรงเกรงว่า " พระศาสดาจะพึงตรัสโทษในรูปแม้ของเราซึ่งน่าดู น่า
เลื่อมใสอย่างนี้. "

ชาวนครนิยมฟังธรรม


ชาวพระนครสาวัตถีถวายท่านแต่เช้าตรู่ สมาทานอุโบสถแล้วห่มผ้า
สะอาด มีมือถือของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น ในเวลาเย็น ประชุม
กันฟังธรรมในพระเชตวัน. เเม้ภิกษุณีสงฆ์ผู้เกิดฉันทะในพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดา ก็ย่อมไปวิหารฟังธรรม. ชาวพระนครสาวัตถีเหล่านั้น
ครั้นฟังธรรมแล้ว เมื่อเข้าไปสู่พระนคร ก็กล่าวแต่คุณกถาของพระศาสดา
เท่านั้นเข้าไป.

ความเลื่อมใสของบุคคล 4 จำพวก


จริงอยู่ จำพวกสัตว์ในโลกสันนิวาสซึ่งมีประมาณ 4 จำพวก ที่
เห็นพระตถาคตอยู่ ไม่เกิดความเลื่อมใส มีจำนวนน้อยนัก.

1. รูปัปปมาณิกา


ด้วยว่าจำพวกสัตว์ที่เป็นรูปัปปปมาณิกา (ถือรูปเป็นประมาณ) เห็น
พระสรีระของพระตถาคต อันประดับแล้วด้วยพระลักษณะและอนุพยัญ-
ชนะมีพระฉวีวรรณดุจทองคำ ย่อมเลื่อมใส.

2. โฆสัปปมาณิกา


จำพวกโฆสัปปมาณิกา (ถือเสียงเป็นประมาณ) ฟังเสียงประกาศ
พระคุณของพระศาสดา ซึ่งอาศัยเป็นไปแล้วตั้งหลายร้อยชาติ และเสียง
ประกาศพระธรรมเทศนา อันประกอบด้วยองค์1 8 ย่อมเลื่อมใส.

3. ลูขัปปมาณิก


แม้จำพวกลูขัปปมาณิกา (ถือการปฏิบัติเศร้าหมองเป็นประมาณ)
1 . เสียงที่ประกอบด้วยองค์ 8 คือ แจ่มใส 1 ชัดเจน 1 นุ่มนวล 1 น่าฟัง 1 กลมกล่อม 1
ไม่พร่า 1 ลึก 1 มีกังวาน 1 ที. มหาวรรค ชนวสภสูตร ข้อ 198.