เมนู

เช่นนั้น ยังความยินดีด้วยอำนาจราคะให้เกิดขึ้น ควรละหรือ ? " ดังนี้แล้ว
ตรัสพระคาถานี้ว่า
4. ยานิมานิ อปตฺถานิ อลาปูเนว1 สารเท
กาโปตกานิ อฏฺฐีนิ ตานิ ทิสฺวาน กา รติ.
" กระดูกนี้เหล่าใด อันเขาทิ้งเกลื่อนกลาด ดุจ
น้ำเต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ ความยินดี
อะไรเล่า ? (จักมี) เพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปตฺถานิ ได้แก่ อันเขาทิ้งแล้ว. บทว่า
สารเท ความว่า เหมือนน้ำเต้าที่ถูกลมและแดดกระทบ หล่นเกลื่อนกลาด
ในที่นั้นๆ ในสารทกาล. ว่า กาโปตกานิ แปลว่า มีสีเหมือนสีนก
พิราบ. สองบทว่า ตานิ ทิสฺวาน ความว่า ความยินดีอะไรเล่าของพวก
เธอ (จักมี) เพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น คือเห็นปานนั้น การทำความ
ยินดีในกามแม้เพียงนิดหน่อย ย่อมไม่ควรเลย มิใช่หรือ ?
ในเวลาจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นได้บรรลุอรหัตผลแล้ว ตามที่ยืนอยู่
เทียว ชมเชย พระผู้มีพระภาคเจ้า มาถวายบังคมแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพระอธิมานิกภิกษุ จบ.
1. อรรถกถาว่า อลาพูเนว.

5. เรื่องพระนางรูปนันทาเถรี [122]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระนาง
รูปนันทาเถรี ซึ่งเป็นนางงามในชนบท ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
" อฏฺฐินํ นครํ กตํ " เป็นต้น.

พระนางรูปนันทาทรงผนวช


ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระนางรูปนันทานั้น ทรงดำริว่า " เจ้าพี่ใหญ่
ของเราสละสิริราชสมบัติ (ออก) ผนวช เป็นพระพุทธเจ้าผู้อัครบุคคลใน
โลก. แม้โอรสของพระองค์ทรงนามว่าราหุลกุมาร ก็ผนวชแล้ว. แม้
เจ้าพี่ของเรา (คือพระนันทะ) ก็ผนวชแล้ว. แม้พระมารดาของเรา ก็
ทรงผนวชแล้ว. เมื่อคณะพระญาติมีประมาณเท่านี้ ทรงผนวชแล้ว. แม้
เราจักทำอะไรในเรือน. จักผนวช (บ้าง). " พระนางเสด็จเข้าไปสู่สำนัก
ภิกษุณีทั้งหลายแล้วทรงผนวชพระนางทรงผนวชเพราะสิเนหาในพระญาติ
เท่านั้น หาใช่เพราะศรัทธาไม่; แต่เพราะพระนางเป็นผู้มีพระโฉมอัน
วิไล จึงปรากฏพระนามว่า " รูปนันทา."

นางไม่เข้าเฝ้าศาสดาเพราะเกรงถูกตำหนิ


พระนางได้ทรงสดับว่า " ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสว่า ' รูปไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ' จึงไม่เสด็จไปเผชิญพระพักตร์พระศาสดา ด้วย
ทรงเกรงว่า " พระศาสดาจะพึงตรัสโทษในรูปแม้ของเราซึ่งน่าดู น่า
เลื่อมใสอย่างนี้. "