เมนู

พระองค์จงทรงรับสั่งให้เอาศพนางสิริมานั้นนอนในป่าช้าผีดิบแล้ว ให้
รักษาไว้โดยอาการที่กาและสุนัขจะกินไม่ได้เถิด. " พระราชาได้ทรงทำ
ตามรับสั่งแล้ว. สามวันล่วงไปแล้วโดยลำดับ ในวันที่ 4 สรีระขึ้นพอง
แล้ว. หมู่หนอนไต่ออกจากปากแผลทั้ง 9. สรีระทั้งสิ้นได้แตกสลาย
คล้ายถาดข้าวสาลีฉะนั้น. พระราชาให้พวกราชบุรุษตีกลองโฆษณาใน
พระนครว่า " เว้นเด็กๆที่เฝ้าเรือนเสีย ใครไม่มาดูนางสิริมาจะถูกปรับ
8 กหาปณะ, " และได้ส่ง (พระราชสาสน์) ไปสำนักพระศาสดาว่า " นัย
ว่าภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ของจงมาดูนางสิริมา; พระศาสดา
รับสั่งให้เผดียงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า " เราทั้งหลายจะไปดูนางสิริมา. " ภิกษุ
หนุ่มแม้รูปนั้นไม่เชื่อฟังคำของใครๆเลย ตลอด 4 วัน อดอาหารนอน
แซ่วอยู่แล้ว. ข้าวสวยในบาตรบูด, สนิมก็ตั้งขึ้นในบาตร. ลำดับนั้น ภิกษุ
สหายนั้น จึงเข้าไปหาเธอแล้วบอกว่า " ผู้มีอายุ พระศาสดาจะเสด็จไป
ทอดพระเนตรนางสิริมา." เธอแม้ถูกความหิวแผดเผาอย่างนั้น ก็ลุกขึ้น
ได้โดยรวดเร็ว ในเพราะบทที่กล่าวว่า " สิริมา " นั่นเอง กล่าวถามว่า
" ท่านว่าอะไรนะ " เมื่อภิกษุสหายตอบว่า " พระศาสดาจะเสด็จไปทอด
พระเนตรนางสิริมา ท่านจะไปด้วยไหม ? " รีบรับว่า " ไปขอรับ " แล้ว
เทข้าวล้างบาตรใส่ในถลก ได้ไปกับหมู่ภิกษุ. พระศาสดามีหมู่ภิกษุห้อม
ล้อมแล้ว ได้ประทับอยู่ ณ ข้างหนึ่ง. ภิกษุณีสงฆ์ก็ดี ราชบริษัทก็ดี
อุบาสกบริษัทก็ดี อุบาสิกาบริษัทก็ดี ได้ยืนอยู่พวกละข้าง.

ศพนางสิริมาผู้เลอโฉมหาค่ามิได้


พระศาสดาตรัสถามพระราชาว่า " นี่ใคร ? มหาบพิตร. "
พระราชา. น้องสาวหมอชีวก ชื่อสิริมา พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. นางสิริมาหรือนี่ ?
พระราชา. นางสิริมา พระเจ้าข้า.
พระศาสดา ถ้ากระนั้น ขอพระองค์ได้โปรดให้ราชบุรุษตีกลอง
โฆษณาในพระนครว่า " ใครให้ทรัพย์พันหนึ่ง จงเอานางสิริมาไป."
พระราชาได้ทรงทำอย่างนั้นแล้ว. ผู้ที่จะออกปากว่า " ข้าพเจ้าหรือ
ว่าเรา " แม้คนหนึ่งก็ไม่มี. พระราชาทูลแก่พระศาสดาว่า " ชนทั้งหลาย
ไม่รับ พระเจ้าข้า. " พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร ถ้ากระนั้น จงลด
ราคาลง (อีก). พระราชารับสั่งให้ตีกลองโฆษณาว่า " ใครให้ทรัพย์ 500
จงเอาไป " ไม่ทรงเห็นใครๆจะรับเอา จึงรับสั่งให้ตีกลองโฆษณาว่า
" ใครให้ทรัพย์ 250-200-100-50-25 กหาปณะ, 10 กหาปณะ,
5 กหาปณะ, 1 กหาปณะ, ครึ่งกหาปณะ, บาท 1, มาสก 1, กากณิก 1
แล้วเอานางสิริมาไป " (ก็ไม่เห็นใครจะรับเอาไป) จึงรับสั่งให้ตีกลอง
โฆษณาว่า " จงเอาไปเปล่า ๆ ก็ได้ " ผู้ที่จะออกปากว่า " ข้าพเจ้า. หรือ
ว่าเรา " (แม้คนหนึ่ง) ก็ไม่มี. พระราชาทูลว่า " พระเจ้าข้า ชื่อว่าผู้ที่จะ
รับเอาไปแม้เปล่าๆ ก็ไม่มี " พระศาสดาจึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงดูมาตุคามซึ่งเป็นที่รักของมหาชน. ในกาลก่อน ชนทั้งหลาย
ในพระนครนี้แล ให้ทรัพย์พันหนึ่งแล้ว ได้ (ภิรมย์) วันหนึ่ง, บัดนี้
แม้ผู้ที่จะรับเอาเปล่าๆ ก็ไม่มี. รูปเห็นปานนี้ ถึงความสิ้นและเสื่อม
แล้ว. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงดูอัตภาพอันอาดูร " ดังนี้แล้ว ตรัส
พระคาถานี้ว่า
2. ปสฺส จิตฺตกตํ พิมฺพํ อรุกายํ สมุสฺสิตํ
อาตุรํ พหุสงฺกปฺปํ ยสฺส นตฺถิ ธุวํ ฐิติ.

" เธอจงดูอัตภาพ ที่ไม่มีความยั่งยืน (และ)
ความมั่นคง (อันกรรม) ทำให้วิจิตรแล้ว มีกายเป็น
แผล อันกระดูก 300 ท่อนยกขึ้นแล้ว อันอาดูร ที่
มหาชนครุ่นคิดแล้วโดยมาก. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตกตํ ความว่า มีความวิจิตรอันกรรม
ทำแล้ว คือ (อันกรรม) ทำให้วิจิตรด้วยวัตถุต่างๆ มีอาภรณ์คือผ้าและ
เครื่องประดับ คือระเบียบดอกไม้เป็นต้น. บทว่า พิมฺพํ ได้แก่ ซึ่งอัตภาพ
อันตั้งอยู่ถูกส่วนด้วยอวัยวะทั้งหลายใหญ่น้อย มีส่วนยาวเป็นต้น ในฐานะ
อันสมควรแก่ความเป็นอวัยวะยาวเป็นต้น. บทว่า อรุกายํ คือ มีกายเป็น
แผล ด้วยสามารถปากแผลทั้ง 9. บทว่า สนุสฺสิตํ คือ อันกระดูก 300
ท่อนยกขึ้นแล้ว. บทว่า อาตุรํ ความว่า ชื่อว่าเป็นไข้ประจำ เพราะความ
เป็นสถานที่ต้องบริหารด้วยอิริยาบถเป็นต้นทุกเวลา. บทว่า พหุสงฺกปฺปํ
ได้แก่ อันมหาชนครุ่นคิดแล้วโดยมาก. บาทพระคาถาว่า ยสฺส นตฺถิ ธุวํ
ฐิติ
ความว่า เธอทั้งหลายจงดูอัตภาพนี้ ที่ไม่มีความยั่งยืน หรือความ
มั่นคง มีความแตกเรี่ยรายและกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา โดยส่วน
เดียวเท่านั้น.
ในเวลาจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแล้วแก่สัตว์ 8 หมื่น 4 พัน
ภิกษุแม้รูปนั้น ก็ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนี้แล.
เรื่องนางสิริมา จบ.