เมนู

พระเถระคิดว่า " นางเทวธิดานี้ไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเรา " จึงปรบ
มือด้วยกล่าวว่า " เจ้าไม่รู้จักประมาณของเจ้า. "
นางไม่อาจดำรงอยู่ในที่นั้นได้ เหาะขึ้นในอากาศ ประคองอัญชลี
ได้ยืนร้องไห้ (คร่ำครวญอยู่) ในอากาศว่า " ท่านเจ้าข้า อย่าให้สมบัติ
ที่ดิฉันได้เเล้วฉิบหายเสียเลย, จงให้เพื่อทำให้มั่นคงเถิด. "

บุญให้เกิดสุขในภพทั้งสอง


พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงสดับเสียงนาง
เทวธิดานั้นร้องไห้ ทรงแผ่พระรัศมีดุจประทับนั่งตรัสอยู่ในที่เฉพาะหน้า
นางเทวธิดา ตรัสว่า " เทวธิดา การทำความสังวรนั่นเทียว เป็นภาระ.'
ของกัสสปผู้บุตรของเรา. แต่การกำหนดว่า ' นี้เป็นประโยชน์ของเรา
แล้วมุ่งกระทำแต่บุญ ย่อมเป็นภาระของผู้มีความต้องการด้วยบุญ, ด้วยว่า
การทำบุญเป็นเหตุให้เกิดสุขอย่างเดียว ทั้งในภพนี้ ทั้งในภพหน้า " ดังนี้
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
3. ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.

" ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, พึงทำบุญนั้นบ่อย ๆ พึง
ทำความพอใจในบุญนั้น, เพราะว่า ความสั่งสมบุญ
ทำให้เกิดสุข. "

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า " ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้. ไม่พึง
งดเว้นเสียด้วยเข้าใจว่า " เราทำบุญครั้งเดียวแล้ว, พอละ ด้วยบุญเพียง

เท่านี้ พึงทำบ่อยๆ แม้ในขณะทำบุญนั้น พึงทำความพอใจ คือความ
ชอบใจ ได้แก่ความอุตสาหะในบุญนั่นแหละ.
ถามว่า " เพราะเหตุไร? "
วิสัชนาว่า เพราะว่าความสั่งสมบุญให้เกิดสุข อธิบายว่า เพราะว่า
ความสั่งสมคือความพอกพูนบุญ ชื่อว่าให้เกิดสุข เพราะเป็นเหตุนำความ
สุขมาให้ในโลกนี้และโลกหน้า.
ในกาลจบเทศนา นางเทวธิดานั้น ยืนอยู่ในที่สุดทาง 45 โยชน์
นั่นแล ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องนางลาชเทวธิดา จบ.

4. เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี [98]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเศรษฐีชื่อ
อนาถบิณฑิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปาโปปิ ปสฺสตี ภทฺรํ "
เป็นต้น.

ท่านเศรษฐีบำรุงภิกษุสามเณรเป็นนิตย์


ความพิสดารว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี จ่ายทรัพย์ตั้ง 54 โกฎิ ใน
พระพุทธศาสนาเฉพาะวิหารเท่านั้น. เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระ-
เชตวัน ไปสู่ที่บำรุงใหญ่ 3 แห่งทุกวัน, ก็เมื่อจะไป คิดว่า " สามเณร
ก็ดี ภิกษุหนุ่มก็ดี พึงแลดูแม้มือของเรา ด้วยการนึกว่า เศรษฐีนั้นถือ
อะไรมาบ้าง ดังนี้ ไม่เคยเป็นผู้ชื่อว่ามีมือเปล่าไปเลย, เมื่อไปเวลาเช้า
ให้คนถือข้าวต้มไป บริโภคอาหารเช้าแล้วให้คนถือเภสัชทั้งหลาย มีเนยใส
เนยข้นเป็นต้นไป. ในเวลาเย็น ให้ถือวัตถุต่างๆ มีระเบียบดอกไม้ ของ
หอม เครื่องลูบไล้และผ้าเป็นต้น ไปสู่วิหาร. ถวายทาน รักษาศีล อย่างนั้น
ทุก ๆ วัน ตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว.

การหมดสิ้นแห่งทรัพย์ของเศรษฐี


ในกาลต่อมา เศรษฐี ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งทรัพย์. ทั้งพวกพาณิช
ก็กู้หนี้เป็นทรัพย์ 18 โกฏิจากมือเศรษฐีนั้น. เงิน 18 โกฏิแม้เป็นสมบัติ
แห่งตระกูลของเศรษฐี ที่ฝังตั้งไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เมื่อฝั่งพังลงเพราะน้ำ
(เซาะ) ก็จมลงยังมหาสมุทร. ทรัพย์ของเศรษฐีนั้นได้ถึงความหมดสิ้น
ไปโดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้.