เมนู

พระเถระคิดว่า " นางเทวธิดานี้ไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเรา " จึงปรบ
มือด้วยกล่าวว่า " เจ้าไม่รู้จักประมาณของเจ้า. "
นางไม่อาจดำรงอยู่ในที่นั้นได้ เหาะขึ้นในอากาศ ประคองอัญชลี
ได้ยืนร้องไห้ (คร่ำครวญอยู่) ในอากาศว่า " ท่านเจ้าข้า อย่าให้สมบัติ
ที่ดิฉันได้เเล้วฉิบหายเสียเลย, จงให้เพื่อทำให้มั่นคงเถิด. "

บุญให้เกิดสุขในภพทั้งสอง


พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงสดับเสียงนาง
เทวธิดานั้นร้องไห้ ทรงแผ่พระรัศมีดุจประทับนั่งตรัสอยู่ในที่เฉพาะหน้า
นางเทวธิดา ตรัสว่า " เทวธิดา การทำความสังวรนั่นเทียว เป็นภาระ.'
ของกัสสปผู้บุตรของเรา. แต่การกำหนดว่า ' นี้เป็นประโยชน์ของเรา
แล้วมุ่งกระทำแต่บุญ ย่อมเป็นภาระของผู้มีความต้องการด้วยบุญ, ด้วยว่า
การทำบุญเป็นเหตุให้เกิดสุขอย่างเดียว ทั้งในภพนี้ ทั้งในภพหน้า " ดังนี้
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
3. ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.

" ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, พึงทำบุญนั้นบ่อย ๆ พึง
ทำความพอใจในบุญนั้น, เพราะว่า ความสั่งสมบุญ
ทำให้เกิดสุข. "

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า " ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้. ไม่พึง
งดเว้นเสียด้วยเข้าใจว่า " เราทำบุญครั้งเดียวแล้ว, พอละ ด้วยบุญเพียง