เมนู

สัมปทา 4 อย่าง


จริงอยู่ ชื่อว่าสัมปทามี 4 อย่างคือ วัตถุสัมปทา ปัจจัยสัมปทา
เจตนาสัมปทา คุณาติเรกสัมปทา. ในสัมปทา 4 อย่างนั้น พระอรหันต์
หรือพระอนาคามี ควรแก่นิโรธสมาบัติ ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลล ชื่อวัตถุ
สัมปทา. การบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย โดยธรรมสม่ำเสมอ ชื่อปัจจัย-
สัมปทา, ความที่เจตนาใน 3 กาล คือในกาลก่อนแต่ให้, ในกาลกำลังให้,
ในกาลภายหลัง สัมปยุตด้วยญาณ อันกำกับโดยโสมนัส ชื่อเจตนสัมปทา.
ส่วนความที่ทักขิไณยบุคคลออกจากสมาบัติ ชื่อว่าคุณาติเรกสัมปทา.
ก็สัมปทาทั้ง 4 อย่างคือ พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ขีณาสพเป็นทักขิไณย-
บุคคล. ปัจจัยที่เกิดแล้ว โดยธรรม โดยความที่ทำการจ้างได้เเล้ว. เจตนา
บริสุทธิ์ใน 3 กาล พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ออกจากสมาบัติเป็นผู้ยิ่ง
โดยคุณ สำเร็จแล้วแก่นายภัตตภติกะนี้. ด้วยอานุภาพแห่งสัมปทา 4 นี้
นายภัตตภติกะ จึงบรรลุมหาสมบัติในทันตาเห็นทีเดียว. เพราะฉะนั้น
นายภัตตภติกะนั้น จึงได้สมบัติจากสำนักของเศรษฐี.

นายภัตตภติกะได้เป็นเศรษฐี


ก็ในกาลต่อมา แม้พระราชา ทรงสดับกรรมที่นายภัตตภติกะนี้ทำ
แล้ว จึงได้รับสั่งให้เรียกเข้ามาเฝ้า แล้วพระราชทานทรัพย์ให้พันหนึ่ง
ทรงรับส่วนบุญ ทรงพอพระทัย พระราชทานโภคะเป็นอันมาก แล้วก็ได้
พระราชทานตำแหน่งเศรษฐีให้. เขาได้มีชื่อว่า " ภัตตภติกเศรษฐี "
ภัตตภติกเศรษฐีนั้น เป็นสหายกับคันธเศรษฐี กินดื่มร่วมกัน ดำรงอยู่
ตลอดอายุแล้ว จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในเทวโลก เสวยสมบัติ

อันเป็นทิพย์ 1 พุทธันดร ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ถือปฏิสนธิในตระกูล
อุปัฏฐากของพระสารีบุตรเถระ ในเมืองสาวัตถี.

นายภัตตภติกะไปเกิดในเมืองสาวัตถี


ครั้งนั้น มารดาของทารกนั้น ได้ครรภ์บริหารแล้ว โดยล่วงไป
2-3 วัน ก็เกิดแพ้ท้องว่า " โอหนอ เราถวายโภชนะมีรส 100 ชนิด
แก่พระสารีบุตรเถระพร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป นุ่งผ้าย้อมฝาดแล้ว ถือ
ขันทองนั่งอยู่ ณ ท้ายอาสนะ พึงบริโภคภัตที่เหลือเดนของภิกษุทั้งหลาย
นั้น " ดังนี้แล้ว ทำตามความคิดนั้นนั่นแล บรรเทาความแพ้ท้องแล้ว.
นางแม้ในกาลมงคลอื่นๆถวายทานอย่างนั้นเหมือนกัน คลอดบุตรแล้ว ใน
วันตั้งชื่อ จึงเรียนพระเถระว่า " จงให้สิกขาบทแก่ลูกชายของฉันเถิด ท่าน
ผู้เจริญ. " พระเถระถามว่า " เด็กนั้นชื่อไร ? " เมื่อมารดาของเด็กเรียนว่า
ท่านผู้เจริญ จำเดิมแต่ลูกชายของฉันถือปฏิสนธิ ขึ้นชื่อว่าทุกข์ ไม่เคยมี
แก่ใครในเรือนนี้, เพราะฉะนั้น คำว่า 'สุขกุมาร ' นั่นแล จักเป็นชื่อของ
เด็กนั้น. " จึงถือเอาคำนั้นแล เป็นชื่อของเด็กนั้น ได้ให้สิกขาบทแล้ว.
ในกาลนั้น ความคิดได้เกิดแก่มารดาของเด็กนั้นอย่างนี้ว่า " เราจักไม่
ทำลายอัธยาศัยของลูกชายเรา." แม้ในกาลมงคลทั้งหลาย มีมงคลเจาะหู
เด็กนั้นเป็นต้น นางก็ได้ถวายทานอย่างนั้นเหมือนกัน.

สุขกุมารบรรพชา


ฝ่ายกุมาร ในเวลามีอายุ 7 ขวบ ก็พูดว่า " คุณแม่ ผมอยากออก
บวชในสำนักของพระเถระ. " นางตอบว่า " ดีละ พ่อ แม่จักไม่ทำลาย
อัธยาศัยของเจ้า " ดังนี้แล้ว จึงนิมนต์พระเถระ ให้ท่านฉันแล้ว ก็เรียน
ว่า " ท่านผู้เจริญ ลูกชายของฉันอยากบวช, ในเวลาเย็น จักนำเด็กนี้ไป