เมนู

จรณะถึงพร้อม มีสติมั่นคง จักละทุกข์อันมีประมาณ
ไม่น้อยนี้ได้."

แก้อรรถ


คนผู้ชื่อว่า หิรินิเสธบุคคล ในพระคาถานั้น ก็เพราะอรรถว่า
ห้ามอกุศลวิตกอันเกิดในภายในด้วยความละอายได้.
สองบทว่า โกจิ โลกสฺมึ ความว่า บุคคลเห็นปานนั้น หาได้ยาก
จึงชื่อว่า น้อยคนนักจะมีในโลก.
สองบทว่า โย นิทฺทํ ความว่า บุคคลใด ไม่ประมาทแล้ว ทำสมณ-
ธรรมอยู่ คอยขับไล่ความหลับที่เกิดแล้วแก่ตน ตื่นอยู่ เพราะฉะนั้น
บุคคลนั้นจึงชื่อว่า กำจัดความหลับให้ตื่นอยู่.
บทว่า กสามิว เป็นต้น ความว่า บุคคลใดกำจัดความหลับ ตื่นอยู่
เหมือนม้าดีคอยหลบแส้อันจะตกลงที่ตน คือไม่ให้ตกลงที่ตนได้ฉะนั้น.
บุคคลนั้นหาได้ยาก.
ในคาถาที่ 2 มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้:-
" ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีความเพียร มีความ
สลดใจ เหมือนม้าดีอาศัยความประมาท ถูกเขาฟาดด้วยแส้แล้ว รู้สึก
ตัวว่า ' ชื่อแม้ตัวเรา ถูกเขาหวดด้วยแส้แล้ว ' ในกาลต่อมา ย่อมทำ
ความเพียรฉะนั้น. เธอทั้งหลายเป็นผู้อย่างนั้นแล้ว ประกอบด้วยศรัทธา
2 อย่าง ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยปาริสุทธิศีล 4 ด้วยความเพียร
เป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต ด้วยสมาธิสัมปยุตด้วยสมาบัติ 8 และ
ด้วยคุณเครื่องวินิจฉัยธรรม มีอันรู้เหตุและมิใช่เหตุเป็นลักษณะ, ชื่อว่า

วิชชาและจรณะถึงพร้อม เพราะความถึงพร้อมแห่งวิชชา 3 หรือวิชชา 8
และจรณะ 15, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติมั่นคง เพราะความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้ว
จักละทุกข์ในวัฏฏะอันมีประมาณไม่น้อยนี้ได้. "
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระปิโลติกเถระ จบ.

11. เรื่องสุขสามเณร [117]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสุขสามเณร
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อุทกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา " เป็นต้น.

เรื่องคันธเศรษฐี


ความพิสดารว่า ในอดีตกาล มีบุตรของเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี
คนหนึ่งชื่อว่า คันธกุมาร เมื่อบิดาของเธอถึงแก่กรรมแล้ว พระราชา
รับสั่งให้หาเธอมาเฝ้า ทรงปลอบโยนแล้ว ได้พระราชทานตำแหน่งเศรษฐี
แก่เธอนั้นแล ด้วยสักการะเป็นอันมาก. จำเดิมแต่กาลนั้นมา คันธกุมารนั้น
ก็ได้ปรากฏนามว่า " คันธเศรษฐี " ครั้งนั้น ผู้รักษาเรือนคลังของเศรษฐี
นั้น ได้เปิดประตูห้องสำหรับเก็บทรัพย์ ขนออกมาแล้ว ชี้แจงว่า " นาย
ทรัพย์นี้ของบิดาท่าน มีประมาณเท่านี้. ของบุรพบุรุษมีปู่เป็นต้น มี
จำนวนเท่านี้." เศรษฐีนั้นแลดูกองทรัพย์แล้ว พูดว่า " ก็ทำไม บุรพบุรุษ
เหล่านั้น จึงมิได้ถือเอาทรัพย์นี้ไปด้วย ? " ผู้รักษาเรือนคลังตอบว่า
" นาย ชื่อว่าผู้ที่จะถือเอาทรัพย์ไปด้วยไม่มี. แท้จริง สัตว์ทั้งหลายพาเอา
แต่กุศลอกุศลที่ตนได้ทำไว้เท่านั้นไป "

เศรษฐีจ่ายทรัพย์สร้างสิ่งต่าง ๆ


เศรษฐีนั้นคิดว่า " บุรพบุรุษเหล่านั้น พากันสั่งสมทรัพย์ไว้แล้ว
ก็ละทิ้งไปเสีย เพราะความที่ตนเป็นคนโง่. ส่วนเราจักถือเอาทรัพย์นั่น
ไปด้วย. " ก็คันธเศรษฐีเมื่อคิดอยู่อย่างนั้น มิได้คิดว่า " เราจักให้ทาน,
หรือจักทำการบูชา. " คิดแต่ว่า " เราจักบริโภคทรัพย์นี้ให้หมดแล้วจึงไป. "