เมนู

ฐานะคือการนุ่งห่มผ้าทั้งหลายเห็นปานนั้น (กลับไป ) นุ่งผ้าท่อนเก่านี้ มี
มือถือกระเบื้องเที่ยวขอทาน ( อีกหรือ)".
ก็เมื่อท่านโอวาท1 (ตน ) อยู่นั้น แหละจิตผ่องใสแล้ว. ท่านเก็บผ้า
เก่าผืนนั้นไว้ที่เดิมนั้นแล้ว กลับไปยังวิหารตามเดิม. โดยกาลล่วงไป
2-3 วัน ท่านกระสันขึ้นอีก ไปกล่าวอย่างนั้นแหละ แล้วก็กลับ. ถึง
กระสันขึ้นอีก ก็ไปกล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วด้วยประการฉะนี้.

พระปิโลติกเถระบรรลุพระอรหัต


ภิกษุทั้งหลาย เห็นท่านเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่อย่างนั้น จึงถามว่า
" ผู้มีอายุ ท่านจะไปไหน ? "
ท่านบอกว่า " ผู้มีอายุ ผมจะไปสำนักอาจารย์ " ดังนี้แล้ว ก็ทำ
ผ้าท่อนเก่าของคนนั้น แหละให้เป็นอารมณ์ โดยทำนองนั้นนั่นเองห้ามตน
ได้ โดย 2-3 วัน เท่านั้น ก็บรรลุพระอรหัตผล.
ภิกษุทั้งหลาย กล่าว " ผู้มีอายุ บัดนี้ ท่านไม่ไปสำนักอาจารย์
หรือ ? ทางนี้เป็นทางเที่ยวไปของท่านมิใช่หรือ ? "

คนหมดเครื่องข้องไม่ต้องไป ๆ มา ๆ


ท่านตอบว่า " ผู้มีอายุ เมื่อความเกี่ยวข้องกับอาจารย์มีอยู่ผมจึงไป
แต่บัดนี้ ผมตัดความเกี่ยวข้องได้แล้ว, เพราะฉะนั้น ผมจึงไม่ไปสำนัก
อาจารย์. "
พวกภิกษุกราบทูลเรื่องราวแด่พระตถาคตว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระปิโลติกเถระอวดอ้างพระอรหัตผล.
1. อีกนัยหนึ่ง แปลว่า " ก็จิตของท่านผู้โอวาท (ตน) อยู่นั่นแล ผ่องใสแล้ว"ก็ได้.

พระศาสดา. เธอกล่าวอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย.
พวกภิกษุ. เธอกล่าวคำชื่อนี้ พระเจ้าข้า.
พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า " ถูกละ ภิกษุทั้งหลาย, บุตร
ของเรา เมื่อความเกี่ยวข้องมีอยู่ จึงไปสำนักอาจารย์. แต่บัดนี้ ความ
เกี่ยวข้องเธอตัดได้แล้ว. เธอห้ามตนด้วยตนเอง บรรลุพระอรหัตแล้ว. "
ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า
10. หิรินิเสโธ ปุริโส โกจิ โลกสฺมิ วิชฺชติ
โย นิทฺทํ อปโพเธติ อสฺโส ภโทฺร กสามิว
อสฺโส ยถา ภโทฺร กสานิวิฏฺโฐ
อาตาปิโน สํเวคิโน ภวาถ
สทฺธาย สีเลน จ วีริเยน จ
สมาธินา ธมฺมวินิจฺฉเยน จ
สมฺปนฺนวิชฺชาจรณา ปติสฺสตา
ปหสฺสถ ทุกฺขมิทํ อนปฺปํ.
" บุรุษผู้ข้ามอกุศลวิตกด้วยหิริได้ น้อยคนจะมี
ในโลก, บุคคลใดกำจัดความหลับ ตื่นอยู่ เหมือน
ม้าดีหลบแส้ไม่ให้ถูกตน, บุคคลนั้นหาได้ยาก. ท่าน
ทั้งหลายจงมีความเพียร มีความสลดใจ เหมือนม้าดี
ถูกเขาตีด้วยแส้แล้ว (มีความบากบั่น) ฉะนั้น.
ท่านทั้งหลายเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล วิริยะ
สมาธิ และ ด้วยคุณเครื่องวินิจฉัยธรรม มีวิชชาและ

จรณะถึงพร้อม มีสติมั่นคง จักละทุกข์อันมีประมาณ
ไม่น้อยนี้ได้."

แก้อรรถ


คนผู้ชื่อว่า หิรินิเสธบุคคล ในพระคาถานั้น ก็เพราะอรรถว่า
ห้ามอกุศลวิตกอันเกิดในภายในด้วยความละอายได้.
สองบทว่า โกจิ โลกสฺมึ ความว่า บุคคลเห็นปานนั้น หาได้ยาก
จึงชื่อว่า น้อยคนนักจะมีในโลก.
สองบทว่า โย นิทฺทํ ความว่า บุคคลใด ไม่ประมาทแล้ว ทำสมณ-
ธรรมอยู่ คอยขับไล่ความหลับที่เกิดแล้วแก่ตน ตื่นอยู่ เพราะฉะนั้น
บุคคลนั้นจึงชื่อว่า กำจัดความหลับให้ตื่นอยู่.
บทว่า กสามิว เป็นต้น ความว่า บุคคลใดกำจัดความหลับ ตื่นอยู่
เหมือนม้าดีคอยหลบแส้อันจะตกลงที่ตน คือไม่ให้ตกลงที่ตนได้ฉะนั้น.
บุคคลนั้นหาได้ยาก.
ในคาถาที่ 2 มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้:-
" ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีความเพียร มีความ
สลดใจ เหมือนม้าดีอาศัยความประมาท ถูกเขาฟาดด้วยแส้แล้ว รู้สึก
ตัวว่า ' ชื่อแม้ตัวเรา ถูกเขาหวดด้วยแส้แล้ว ' ในกาลต่อมา ย่อมทำ
ความเพียรฉะนั้น. เธอทั้งหลายเป็นผู้อย่างนั้นแล้ว ประกอบด้วยศรัทธา
2 อย่าง ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยปาริสุทธิศีล 4 ด้วยความเพียร
เป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต ด้วยสมาธิสัมปยุตด้วยสมาบัติ 8 และ
ด้วยคุณเครื่องวินิจฉัยธรรม มีอันรู้เหตุและมิใช่เหตุเป็นลักษณะ, ชื่อว่า