เมนู

หนทางที่นางเดินไป บนคันนา มีงูพิษร้ายนอนอยู่ในรูแห่งหนึ่ง งูไม่
อาจขบกัดแข้งพระเถระอันปกปิดด้วยผ้ากาสายะได้. นางพลางระลึกถึง
ทานกลับไปถึงที่นั้น. งูเลื้อยออกจากรู กัดนางให้ล้มลง ณ ที่นั้นเอง
นางมีจิตเลื่อมใส ทำกาละแล้ว ไปเกิดในวิมานทองประมาณ 30 โยชน์
ในภพดาวดึงส์ มีอัตภาพประมาณ 3 คาวุต1 ประดับเครื่องอลังการทุก
อย่าง เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น.

วิธีทำทิพยสมบัติให้ถาวร


นางนุ่งผ้าทิพย์ประมาณ 12 ศอกผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง แวดล้อม
ด้วยนางอัปสรตั้งพัน เพื่อประกาศบุรพกรรม จึงยืนอยู่ที่ประตูวิมาน
อันประดับด้วยขันทองคำ เต็มด้วยข้าวตอกทองคำห้อยระย้าอยู่ ตรวจดู
สมบัติของตน ใคร่ครวญด้วยทิพยจักษุว่า " เราทำกรรมสิ่งไรหนอ จึง
ได้สมบัตินี้ " ได้รู้ว่า " สมบัตินี้เราได้เเล้ว เพราะผลแห่งข้าวตอกที่เรา
ถวายพระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปเถระ. " นางคิดว่า " เราได้สมบัติเห็นปานนี้
เพราะกรรมนิดหน่อยอย่างนี้ บัดนี้เราไม่ควรประมาท. เราจักทำวัตร
ปฏิบัติแก่พระผู้เป็นเจ้า ทำสมบัตินี้ให้ถาวร " จึงถือไม้กวาด และกระเช้า
สำหรับเทมูลฝอยสำเร็จด้วยทองไปกวาดบริเวณของพระเถระ แล้วตั้งน้ำ
ฉันน้ำใช้ไว้แต่เช้าตรู่.
พระเถระเห็นเช่นนั้น สำคัญว่า " จักเป็นวัตรที่ภิกษุหนุ่มหรือสามเณร
บางรูปทำ. " แม้ในวันที่ 2 นางก็ได้ทำอย่างนั้น. ผ่ายพระเถระก็สำคัญ
เช่นนั้นเหมือนกัน. แต่ในวันที่ 3 พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดของนาง
1. คาวุต 1 ยาวเท่ากับ 100 เส้น.

และเห็นแสงสว่างแห่งสรีระฉายเข้าไปทางช่องลูกดาล จึงเปิดประตู (ออก
มา) ถามว่า " ใครนั่น กวาดอยู่ ? "
นาง. ท่านเจ้าข้า ดิฉันเอง เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน ชื่อลาช-
เทวธิดา.
พระเถระ. อันอุปัฏฐายิกาของเรา ผู้มีชื่ออย่างนั้น ดูเหมือนไม่มี.
นาง. ท่านเจ้าข้า ดิฉัน ผู้รักษานาข้าวสาลี ถวายข้าวตอกแล้ว มีจิต
เลื่อมใสกำลังกลับไป ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว บังเกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์.
ท่านเจ้าข้า ดิฉันคิดว่า " สมบัตินี้เราได้เพราะอาศัยพระผู้เป็นเจ้า, แม้ใน
บัดนี้ เราจักทำวัตรปฏิบัติแก่ท่าน ทำสมบัติให้มั่นคง, จึงได้มา. "
พระเถระ. ทั้งวานนี้ทั้งวานซืนนี้ เจ้าคนเดียวกวาดที่นี่. เจ้าคน
เดียวเข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้หรือ ?
นาง. อย่างนั้น เจ้าข้า.
พระเถระ. จงหลีกไปเสีย นางเทวธิดา, วัตรที่เจ้าทำแล้ว จงเป็น
อันทำแล้ว, ตั้งแต่นี้ไป เจ้าอย่ามาที่นี้ (อีก).
นาง. อย่าให้ดิฉันฉิบหายเสียเลย เจ้าข้า, ขอพระผู้เป็นเจ้า จงให้
ดิฉันทำวัตรแก่พระผู้เป็นเจ้า ทำสมบัติของดิฉันให้มั่นคงเถิด.
พระเถระ. จงหลีกไป นางเทวธิดา, เจ้าอย่าทำให้เราถูกพระ-
ธรรมกถึกทั้งหลาย นั่งจับพัดอันวิจิตร พึงกล่าวในอนาคตว่า ' ได้ยินว่า
นางเทวธิดาผู้หนึ่ง มาทำวัตรปฏิบัติ เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ เพื่อพระมหา-
กัสสปเถระ,' แต่นี้ไป เจ้าอย่ามา ณ ที่นี้ จงกลับไปเสีย.
นางจึงอ้อนวอนซ้ำ ๆ อีกว่า " ขอท่านอย่าให้ดิฉันฉิบหายเลย
เจ้าข้า. "

พระเถระคิดว่า " นางเทวธิดานี้ไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเรา " จึงปรบ
มือด้วยกล่าวว่า " เจ้าไม่รู้จักประมาณของเจ้า. "
นางไม่อาจดำรงอยู่ในที่นั้นได้ เหาะขึ้นในอากาศ ประคองอัญชลี
ได้ยืนร้องไห้ (คร่ำครวญอยู่) ในอากาศว่า " ท่านเจ้าข้า อย่าให้สมบัติ
ที่ดิฉันได้เเล้วฉิบหายเสียเลย, จงให้เพื่อทำให้มั่นคงเถิด. "

บุญให้เกิดสุขในภพทั้งสอง


พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงสดับเสียงนาง
เทวธิดานั้นร้องไห้ ทรงแผ่พระรัศมีดุจประทับนั่งตรัสอยู่ในที่เฉพาะหน้า
นางเทวธิดา ตรัสว่า " เทวธิดา การทำความสังวรนั่นเทียว เป็นภาระ.'
ของกัสสปผู้บุตรของเรา. แต่การกำหนดว่า ' นี้เป็นประโยชน์ของเรา
แล้วมุ่งกระทำแต่บุญ ย่อมเป็นภาระของผู้มีความต้องการด้วยบุญ, ด้วยว่า
การทำบุญเป็นเหตุให้เกิดสุขอย่างเดียว ทั้งในภพนี้ ทั้งในภพหน้า " ดังนี้
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
3. ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.

" ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, พึงทำบุญนั้นบ่อย ๆ พึง
ทำความพอใจในบุญนั้น, เพราะว่า ความสั่งสมบุญ
ทำให้เกิดสุข. "

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า " ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้. ไม่พึง
งดเว้นเสียด้วยเข้าใจว่า " เราทำบุญครั้งเดียวแล้ว, พอละ ด้วยบุญเพียง