เมนู

กาเรียกบุตรของเราแม้ว่า ' สมณะ ' ก็ควร. เรียกว่า ' พราหมณ์ '
ก็ควรเหมือนกัน " ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า
9. อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย1
สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี
สพฺเพสุ ภุเตสุ นิธาย ทณฺฑํ
โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ.
" แม้ถ้าบุคคลประดับแล้ว พึงประพฤติสม่ำเสมอ
เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประพฤติ
ประเสริฐ วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก,
บุคคลนั้น เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกโต ได้แก่ ประดับด้วยผ้าและ
อาภรณ์. บัณฑิตพึงทราบความแห่งพระคาถานั้นว่า " แม้หากว่าบุคคล
ประดับด้วยเครื่องอลังการมีผ้าเป็นต้น พึงประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยกาย
เป็นต้น. ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะความสงบระงับแห่งราคะเป็นต้น, ชื่อว่า
เป็นผู้ฝึก เพราะฝึกอินทรีย์, ชื่อว่าเป็นผู้เที่ยง เพราะเที่ยงในมรรคทั้ง 4.
ชื่อว่าพรหมจารี เพราะประพฤติประเสริฐ, ชื่อว่าวางอาชญาในสัตว์ทุก
จำพวก เพราะความเป็นผู้วางเสียซึ่งอาชญาทางกายเป็นต้นแล้ว. ผู้นั้น
คือผู้เห็นปานนั้น อันบุคคลควรเรียกว่า ' พราหมณ์ ' เพราะความเป็นผู้
มีบาปอันลอยแล้ว ก็ได้, ว่า ' สมณะ ' เพราะความเป็นผู้มีบาปอันสงบ
1. อรรถกถาเป็น สมญฺจเรยฺยย.

แล้ว ก็ได้, ว่า ' ภิกษุ ' เพราะความเป็นผู้มีกิเลสอันทำลายแล้ว ก็ได้
โดยแท้. "
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องสันตติมหาอำมาตย์ จบ

10. เรื่องพระปิโลติกเถระ [116]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระปิโลติก-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "หิรินิเสโ ปุริโธ ปุริโส" เป็นต้น.

พระอานนท์จัดการให้ปิโลติกะบวช


ความพิศดารว่า ในวันหนึ่ง พระอานนทเถระเห็นทารกคนหนึ่ง
นุ่งผ้าท่อนเก่า ถือกระเบื้องเที่ยวขอทานอยู่ จึงพูดว่า " เจ้าบวชเสียจะ
ไม่ดียิ่งกว่าการเที่ยวไปอย่างนี้เป็นอยู่หรือ ? " เมื่อเขาตอบว่า "ใครจัก
ให้ผมบวชเล่า ? ขอรับ " จึงกล่าวรับรองว่า "ฉันจะให้บวช " แล้ว
พาเขาไปยังวิหารให้อาบน้ำด้วยมือของตน ให้กรรมฐานแล้วก็ให้บวช.
ก็พระอานนทเถระนั้น คลี่ท่อนผ้าเก่าที่ทารกนั้นนุ่งแล้ว ตรวจดู
ไม่เห็นส่วนอะไร ๆ พอใช้สอยได้ แม้สักว่าทำเป็นผ้าสำหรับกรองน้ำ
จึงเอาพาดไว้ที่กิ่งไม้กิ่งหนึ่งกับกระเบื้อง.

พระปิโลติกะอยากสึก


เขาได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว บริโภคลาภและสักการะอันเกิดขึ้นเพื่อ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย นุ่งห่มจีวรที่มีค่ามากเที่ยวไปอยู่ เป็นผู้มีสรีระอ้วน
การะสันขึ้นแล้ว คิดว่า "ประโยชน์อะไรของเราด้วยการนุ่ง (ห่ม) จีวร
อันชนให้ด้วยศรัทธาเที่ยวไป, เราจะนุ่งผ้าเก่าของตัวนี่แหละ " ดังนี้
แล้ว ก็ไปสู่ที่นั้นแล้ว จังผ้าเก่าทำผ้านั้นให้เป็นอารมณ์ แล้วจึงโอวาท
ตนด้วยตนเองว่า " เจ้าผู้ไม่มีหิริ หมดยางอาย เจ้ายังปรารถนาเพื่อจะละ